วิธีเก็บรักษาวิธีเก็บรักษาเหรียญและธนบัตร อย่าปล่อยให้คุณค่าของวิธีเก็บรักษาเหรียญและธนบัตร จางหายไปพร้อม ๆ กับสภาพที่เสื่อมโทรมไปตามกาลเวลา มาเก็บรักษาเหรียญและธนบัตรด้วยวิธีเหล่านี้กันค่ะ
ในช่วงนี้สถาบันการเงินต่างก็เปิดให้ประชาชนแลกธนบัตรและเหรียญรุ่นสำคัญ ที่ควรค่าแก่ความทรงจำ เพื่อนำมาเก็บสะสมเอาไว้เป็นที่ระลึก บวกกับว่าบางคนยังมีวิธีเก็บรักษาเหรียญและธนบัตรสะสมไว้อยู่แล้ว ดังนั้นกระปุกดอทคอมจึงไม่รอช้าที่จะนำเอาวิธีการเก็บรักษาวิธีเก็บรักษาเหรียญและธนบัตรพร้อมวิธีทำความสะอาดมาฝากกันค่ะ เพื่อให้วิธีเก็บรักษาเหรียญและธนบัตรเหล่านี้ยังคงสภาพดี อยู่ได้ยาวนานให้ลูกให้หลานได้ชื่นชมในอนาคต
1. รักษาความสะอาด
ก่อนอื่นต้องรักษาความสะอาดด้วยการล้างมือและทำความสะอาดบริเวณที่เก็บธนบัตรให้เรียบร้อย เพราะสิ่งสกปรกจำพวกฝุ่นควัน คราบไข เชื้อแบคทีเรีย และรวมไปถึงแมลงต่าง ๆ คือตัวการสำคัญที่ทำให้ธนบัตรเสื่อมสภาพและชำรุดเสียหาย
2. ซีลด้วยเครื่องสุญญากาศ
สำหรับคนที่ต้องการเก็บรักษาธนบัตรให้อยู่ในสภาพดี แนะนำให้หาซองพลาสติกแบบไร้สาร PVC หรือซองพลาสติกแบบ MYLAR ใส่ธนบัตร แล้วนำไปเข้าเครื่องซีลเพื่อดูดอากาศ เพื่อป้องกันไม่ให้ธนบัตรเปลี่ยนสภาพ แล้วทำการปิดปากพลาสติกด้วยความร้อน เพียงเท่านี้ธนบัตรก็จะคงอยู่ในสภาพเดิมไปได้อีกนาน
3. เก็บแยกทีละใบ
แม้จะสะสมธนบัตรไว้มากมาย แต่ก็ไม่ควรเก็บรักษาธนบัตรหลายใบไว้ในซองเดียวกัน แนะนำให้เก็บแยกทีละใบด้วยการใส่ซองเก็บธนบัตร ก่อนนำไปเก็บรวม เพื่อป้องกันไม่ให้ธนบัตรแต่ละใบสัมผัสกัน หรือถ้าจะให้ดีควรจัดระเบียบการจัดเก็บ แยกประเภทของธนบัตรตามรุ่น ชนิด เบอร์ หรือความพิเศษ เพราะจะช่วยให้ค้นหาง่าย ไม่ต้องรื้อค้นจากเกิดความเสียหายในภายหลัง
4. ใส่บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม
หากใครที่ต้องการเก็บธนบัตรให้สามารถหยิบออกมาดูได้ ควรจะหาซองพลาสติกแบบ MYLAR มาใส่ธนบัตรซองละ 1 ใบ เอาไว้ จากนั้นค่อยเก็บรวมไว้ในอัลบั้มธนบัตรหรือกล่องทึบแสงอีกที ไม่ควรใช้ซองพลาสติกทั่วไปมาเก็บ เพราะอาจจะมีสาร PVC ที่เป็นอันตรายต่อธนบัตรปะปนอยู่ และมันจะทำปฏิกิริยาจนทำให้ธนบัตรมีกลิ่นและชำรุดได้
5. ควบคุมอุณหภูมิ
นอกจากจะต้องรักษาความสะอาดบริเวณที่เก็บธนบัตรให้ดีแล้ว อุณหภูมิก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีผลต่อธนบัตรโดยตรง ดังนั้นจึงต้องเลือกสถานที่เก็บที่มีอุณหภูมิต่ำ ไม่ร้อน ไม่อับชื้น อากาศแห้ง ไร้รังสียูวีจากแสงแดดหรือหลอดไฟ อีกทั้งอากาศบริเวณนั้นต้องไม่สารเคมีปนเปื้อนโดยเด็ดขาด
6. รักษาลักษณะให้เหมือนเดิม
เมื่อได้ธนบัตรใบที่ต้องการเก็บสะสมมาอยู่ในมือแล้ว ก็ควรรักษาให้ธนบัตรอยู่ในรูปทรงเดิม ในลักษณะเหยียดตรง ไม่ควรพับ ม้วน ขยำ ประทับตรา เย็บลวด ขีดเขียนให้เกิดรอย หรือนำไปประดิษฐ์เป็นรูปทรงต่าง ๆ
7. ห้ามวางใกล้ของมีคม
อย่ามองข้ามอุปกรณ์เครื่องเขียนและสิ่งของมีคมไปโดยเด็ดขาดนะคะ เพราะเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ธนบัตรชำรุดเสียหายอย่างมาก หากเกิดการฉีกขาดขึ้นมาจะไม่สามารถกลับมาอยู่ในสภาพเดิมได้ ดังนั้นบริเวณที่เก็บธนบัตรควรปลอดสิ่งของมีคมทุกชนิด
8. ทำความสะอาดด้วยน้ำยาเฉพาะ
หากธนบัตรที่เก็บสะสมเกิดเสื่อมสภาพไป ดูเก่า และมีคราบเหลือง ๆ ปรากฏขึ้นมา แนะนำให้หาซื้อน้ำยาล้างธนบัตรที่มีสารซูเปอร์คริติคัล คาร์บอนไดออกไซด์ เพราะไม่มีสารทำลายสีหมึกและพรายน้ำ นอกจากนี้ยังช่วยกำจัดไขมัน สิ่งสกปรก และแบคทีเรียออกไป ทำให้ธนบัตรกลับมาดูใหม่อีกครั้ง แต่แนะนำให้ทดลองใช้กับธนบัตรทั่ว ๆ ไปก่อนที่จะนำมาเช็ดธนบัตรที่จะเก็บสะสม
9. เก็บเหรียญให้ปลอดภัย
ส่วนการเก็บรักษาเหรียญนั้นก็จะมีวิธีคล้ายกับการเก็บรักษาธนบัตร ได้แก่ ให้เก็บไว้ในที่สะอาด อากาศแห้ง ไม่อับชื้น ไม่มีสารพิษปะปนในอากาศ แต่ที่มากไปว่านั้นคือบริเวณที่เก็บเหรียญจะต้องควบคุมความชื้นให้เหมาะสม ด้วยการใช้ ซิลิกาเจล สารดูดซับความชื้นที่ช่วยควบคุมความชื้นสัมพัทธ์บริเวณที่เก็บเหรียญให้ต่ำกว่า 45% และยังเป็นสารที่ไม่มีไอพิษปะปนมากับอากาศอีกด้วย
10. ทำความสะอาดเหรียญ
เหรียญที่เก็บไว้นาน ๆ และเก็บอย่างไม่ถูกวิธีอาจจะเกิดการเปลี่ยนสีหรือมีคราบสกปรกเกาะติด ฉะนั้นให้ทำความสะอาดด้วยการนำไปล้างในน้ำผสมสบู่อย่างระมัดระวัง หรือถ้าเจอคราบหนักให้นำเหรียญไปล้างน้ำเปล่าแล้วป้ายยาสีฟันลงไป ใช้นิ้วถูเบา ๆ คราบก็จะหลุดออก ล้างน้ำสะอาดอีกครั้ง แล้วนำผ้าขนหนูมาซับให้แห้ง ห้ามใช้สิ่งของที่เป็นกรดล้างโดยเด็ดขาด และถ้าหากใครจะล้างเหรียญด้วยน้ำยาล้างเหรียญก็ต้องระมัดระวังกันให้ดี ๆ เพราะน้ำยานี้มีส่วนผสมของสารไซยาไนด์ที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้และอาจกัดกร่อนพื้นผิวเหรียญได้ค่ะ
เอาเป็นว่าใครที่กำลังออกตามหาธนบัตรและเหรียญอันทรงคุณค่ามาเก็บสะสมหรือมีของเก่าสะสมไว้อยู่แล้ว ก็อย่าลืมนำวิธีการเก็บรักษาที่เรานำมาฝากันในวันนี้ไปลองปรับใช้กันดูนะคะ เพื่อให้ธนบัตรและเหรียญเหล่านี้ช่วยสืบสานและบอกเล่าเรื่องราวดี ๆ ให้กับลูกหลานในอนาคตข้างหน้าได้รับรู้ค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก banknoteclub, ธนาคารแห่งประเทศไทย และ siamstamp
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น