วันอาทิตย์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2560

9 เรื่องเล่า 9 เหรียญกษาปณ์ : รัชกาลที่ 9





เหรียญแรกในรัชกาล


    เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชขึ้นครองราชย์ ใน พ.ศ. ๒๔๘๙ ยังมิได้มีการผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชุดใหม่ออกใช้ในรัชกาล ด้วยระหว่าง พ.ศ. ๒๔๘๙-๒๔๙๓ อยู่ระหว่างเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จนกระทั่งในวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๔ เหรียญกษาปณ์เหรียญแรกในรัชกาลจึงออกใช้ ซึ่งโดยขนบของเงินตราไทยในส่วนที่เป็นเหรียญกษาปณ์จะนับเริ่มจากชนิดราคาสูงไปยังราคาต่ำ
    ดังนั้นเหรียญแรกในรัชกาลคือ เหรียญอลูมิเนียมบรอนซ์ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่าเหรียญทองเหลือง ชนิดราคา ๕๐ สตางค์ เหรียญนี้มีส่วนผสมของทองแดง 91% อลูมิเนียม 9% ลักษณะเหรียญทองแดงนั้นมีสีทอง เนื่องจากส่วนผสมของทองแดง และอลูมิเนียมอัตราส่วนนี้ ทาให้เป็นสีทองเหลืองแทนที่จะเป็นสีแดงของทองแดง
    ด้านหน้าเป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ด้านหลังเป็นรูปตราแผ่นดินสมัยรัชกาลที่ ๕ เบื้องล่างระบุ พ.ศ. ๒๔๙๓ เหรียญนี้ผู้ออกแบบและปั้นแบบด้านหน้าคือ กรมศิลปากร ส่วนผู้ออกแบบและปั้นแบบด้านหลังคือ นายสานต์ เทศะศิริ กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์



เหรียญบาทที่โดดเด่น



     เหรียญชนิดราคา ๑ บาท เปรียบประดุจสัญลักษณ์ของเงินบาทไทย และเป็นตัวแทนค่าของเงินบาท เงินบาทมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในอดีตเงินตราไทยคือ เงินพดด้วง จะไม่ระบุชนิดราคาบนตัวเงิน ราคาของเงินขึ้นกับน้าหนัก อันมีมาตรฐานคือ ๑ บาท เท่ากับโลหะเงินหนัก ๑๕.๒ กรัม ไทยเรามาเลิกทาเหรียญบาทจากโลหะเงินในปลายสมัยรัชกาลที่ ๖ เพราะโลหะเงิน ๑๕.๒ กรัม มีค่ามากกว่าเหรียญที่มีชนิดราคา ๑ บาท ซึ่งกว่าจะมีการทาเหรียญบาทอีกครั้งก็ในรัชกาลที่ ๙ ซึ่งเปลี่ยนมาใช้โลหะอื่นที่ราคาถูกกว่าเงินแล้ว เหรียญบาทที่เปรียบเสมือนตัวแทนของเหรียญบาททั้งหลายในรัชกาลนี้คือ เหรียญบาทที่แรกผลิตใน พ.ศ. ๒๕๐๕ เพราะมีขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางถึง ๒๗ ม.ม. น้าหนัก ๗.๕ กรัม และสวยงาม ด้วยฝีมือการออกแบบและปั้นแบบด้านพระบรมรูป โดยนายสานต์ เทศะศิริ กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ (ด้านหลังใช้แบบเดิมของเหรียญบาท พ.ศ. ๒๕๐๐) ผลิตจากโลหะผสมที่เรียกว่า คิวโปรนิกเกิล (Cupro-Nickle) เหรียญนี้ผลิตติดต่อกันมาหลายครั้ง แต่มิได้เปลี่ยนเลข พ.ศ. ทั้งนี้ กรมธนารักษ์ได้นาเหรียญนี้ ออกจ่ายแลกตั้งแต่วันที่ ๔ธันวาคม ๒๕๐๕ เป็นต้นไป



แรกมีเหรียญ 5 บาท



     ประเทศไทยออกใช้ธนบัตรชนิดราคา ๕ บาท เป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๕ แต่เพิ่งมีการผลิตและออกใช้หมุนเวียนเหรียญ ๕ บาท ก็ในสมัยรัชกาลที่ ๙ นี้เอง เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะในห้วง พ.ศ.๒๕๑๕ ภาวะค่าครองชีพสูงขึ้น มีปริมาณการใช้ธนบัตรชนิดราคา ๕ บาทในท้องตลาดมาก แม้ว่าตั้งแต่ปี ๒๕๑๒ ประเทศไทยจะพิมพ์ธนบัตรได้เอง แต่ก็เกิดการขาดแคลน กอปรกับธนบัตรมีอายุงานเฉลี่ยราว 1 ปี ต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูง รัฐบาลจึงมีแผนที่จะยกเลิกการผลิตธนบัตร ๕ บาท (ยุติการผลิตธนบัตรชนิดราคานี้ราว ๆ พ.ศ.๒๕๑๗-๒๕๑๘) โดยผลิตเหรียญ ๕ บาทแทน รัฐบาลจึงออกกฎกระทรวงการคลัง ฉบับที่ ๑๔ ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๑๕ ให้ผลิตเหรียญ ๕ บาท โดยให้มีรูปทรงเก้าเหลี่ยม มีความหมายถึงรัชกาลที่ ๙ ผู้ออกแบบและปั้นแบบด้านหน้าคือ นายไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ กรมศิลปากร ส่วนผู้ออกแบบและปั้นแบบด้านหลังคือนายสานต์ เทศะศิริ กรมธนารักษ์ เหรียญนี้ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๖ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่มีการปลอมเหรียญนี้ออกมาในท้องตลาดมากแม้จะกวดขันจับกุมก็ไม่ทาให้เหรียญปลอมลดลงได้ ทาให้ประชาชนไม่กล้ารับชาระหนี้ด้วยเหรียญนี้ กระทรวงการคลังจึงออกพระราชกาหนดถอนคืนเมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๒๑ เป็นกรณีเร่งด่วน



เหรียญบาทพระครุฑพาห์



     เนื่องจากเหรียญพระบรมรูป-ตราแผ่นดิน ชนิดราคา ๑ บาทที่ออกใช้มาตั้งแต่ปี ๒๕๐๕ นั้น มีขนาด ๒๗ ม.ม. เท่ากับเหรียญพระบรมรูป-พระครุฑพ่าห์ ชนิดราคา ๕ บาท พ.ศ.๒๕๑๕ แม้ว่ากรมธนารักษ์จะได้ป้องกันปัญหาที่อาจเกิดความสับสน ด้วยการออกแบบรูปทรงเก้าเหลี่ยมแล้วก็ตาม แต่โดยหลักกษาปณ์สากลแล้ว เหรียญที่ราคาต่างกันเช่นนี้ ไม่ควรมีขนาดที่ใกล้เคียงกัน ดังนั้น ในปี ๒๕๑๗ รัฐบาลจึงดาริให้กรมธนารักษ์ผลิตเหรียญกษาปณ์ ๑ บาทแบบใหม่ขึ้น เป็นเหรียญกษาปณ์พระบรมรูป-ตราพระครุฑพ่าห์ พ.ศ.๒๕๑๗ ให้มีน้าหนักและขนาดเล็กกว่าเหรียญบาท พ.ศ.๒๕๐๕ ลดขนาดลงจาก ๒๗ ม.ม.เหลือ ๒๕ ม.ม. และลดน้าหนักลงจาก ๗.๕ เป็น ๗ กรัม ด้านหลังเปลี่ยนเป็นตราพระครุฑพ่าห์ เพื่อให้สอดคล้องเป็นเงินตราชุดเดียวกับเหรียญกษาปณ์ ๕ บาท รุ่นเก้าเหลี่ยม เหรียญนี้ผู้ออกแบบด้านหน้าคือนางไพฑูรย์ศรี ดีปานวงศ์ ด้านหลังนางสาวปราณี คล้ายเชื้อวงศ์ ส่วนผู้ปั้นแบบด้านหน้าคือนางไพฑูรย์ศรี ดีปานวงศ์ ด้านหลังคือนายมนตรี ดีปานวงศ์ ทุกท่านสังกัดกรมธนารักษ์เหรียญรุ่นนี้มีการผลิตในปีต่อ ๆ มา โดยไม่เปลี่ยน พ.ศ. และเป็นเหรียญบาทอีกเหรียญหนึ่งที่ประชาชนนิยมมากเพราะด้านหลังเป็นรูปครุฑ อีกทั้งมีการผลิตน้อยเพราะระยะเวลาออกใช้ราว ๓-๔ ปีเท่านั้น



เหรียญ 5 บาท พระครุฑเฉียงซ้าย



     เนื่องจากเหรียญ ๕ บาท เก้าเหลี่ยม พ.ศ.๒๕๑๕ มีลวดลายและรูปแบบไม่ซับซ้อน เป็นเหตุให้มีผู้ทาปลอมขึ้นเป็นจานวนมาก ทางรัฐบาลจึงแก้ปัญหาด้วยการประกาศถอนคืนเหรียญรุ่นดังกล่าว พร้อมทั้งให้กรมธนารักษ์ดาเนินการจัดทาเหรียญชนิดราคา ๕ บาทแบบใหม่ขึ้น โดยทาการแก้ไขลักษณะและลวดลายของเหรียญกษาปณ์ทั้งหมดเพื่อให้ทาการปลอมแปลงได้ยาก  ข้อสังเกตคือมีการใช้พระปรมาภิไธย “สยามมินทร์” บนเหรียญเป็นครั้งแรก ผู้ออกแบบด้านหน้าคือนางสาวสุภาพ อุ่นอารีย์ ผู้ออกแบบด้านหลังคือ นายสานต์ เทศะศิริ ส่วนผู้ปั้นแบบด้านหน้า คือนายมนตรี ดีปานวงศ์ ผู้ปั้นแบบด้านหลังคือนายสานต์ เทศะศิริ ทั้งหมดเป็นข้าราชการกรมธนารักษ์ ประกาศออกใช้เหรียญรุ่นใหม่นี้เมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๒๐ เหรียญรุ่นนี้เป็นเหรียญกษาปณ์คิวโปรนิกเกิลสอดไส้ทองแดง ขอบเรียบ ตัวเหรียญประกอบด้วยทองแดง ๗๕% และนิกเกิล ๒๕ % ที่ริมขอบเหรียญจะมองเห็นไส้ทองแดงได้อย่างชัดเจน ระบุคาว่า “กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง” ซึ่งเทคนิคการอัดโลหะเป็นชั้นและการทาขอบเหรียญแบบนี้ เป็นวิธีการที่นามาใช้ในเหรียญกษาปณ์ไทยเป็นครั้งแรก



เหรียญปลีกที่ใช้ภาพรวงข้าว




     ในสมัยคุณพ่อคุณแม่ยังหนุ่มยังสาว เศษสตางค์ยังมีคุณค่า ราว พ.ศ.๒๕๑๔ สมัยรัฐบาลคณะปฏิวัตินาโดยจอมพลถนอม กิตติขจร มีการขึ้นราคาค่ารถเมล์ประจาทางจาก ๕๐ สต. เป็น ๗๕ สต. ได้มีกลุ่มนักศึกษาเรียกร้องให้ลดราคาเท่าเดิม ด้วยการใช้คำขวัญว่า “พึงขจัด ๗๕ เหลือ ๕๐” อันแสดงว่าเงิน ๕๐ สต.และ ๒๕ สต. ก็มีความสำคัญต่อการครองชีพของประชาชน ซึ่งในเวลาที่กล่าวถึงนี้ชาวบ้านใช้เหรียญ ๕๐ สต. และ ๒๕ สต.ในรูปแบบที่ออกใช้มาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๐ จนกระทั่งในปี ๒๕๑๙ รัฐบาลเห็นว่าบ้านเมืองประสบปัญหาเงินเฟ้อ ส่งผลให้ราคาของโลหะตลอดจนต้นทุน การผลิตเหรียญสูงขึ้นกว่าราคาหน้าเหรียญเป็นอย่างมาก ควรปรับปรุงแก้ไขลักษณะมาเป็นเหรียญกษาปณ์ทองเหลืองแบบใหม่ โดยลดส่วนผสมที่เป็นทองแดงลงเพื่อลดต้นทุน กรมธนารักษ์จึงได้ออกแบบภาพพระบรมรูปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขึ้นใหม่ ส่วนตราด้านหลังได้ใช้ภาพรวงข้าว ประกอบกับตัวอักษรบอกราคาที่เห็นได้ชัดเจนขึ้น เหรียญ ๒๕ สต.ออกใช้ก่อนในปี ๒๕๑๙ ส่วน ๕๐ สต.ออกปี ๒๕๒๓ และถือว่าเป็นเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนที่ไม่มีสัญลักษณ์ตราแผ่นดินเป็นครั้งแรกในรัชกาลที่ ๙



เหรียญที่มีคู่แฝด





     ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเหรียญกษาปณ์พระบรมรูป-เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ชนิด ราคา ๕ บาท พ.ศ. ๒๕๓๐ ซึ่งมีลักษณะคล้ายเหรียญบาท พ.ศ. ๒๕๒๐ ที่ด้านหน้าเป็นพระบรมรูปรัชกาลที่ ๙ ด้านหลังเป็นรูปเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์เช่นเดียวกัน กล่าวคือในปี ๒๕๓๐ กรมธนา-รักษ์ได้ผลิตเหรียญ ๕ บาทแบบใหม่ขึ้น เป็นเหรียญทองขาว (คิวโปรนิเกิล) สอดไส้ทองแดง โดยมีการนาภาพ ส่วนโขนเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ มาใช้เป็นภาพประธานด้านหลังของเหรียญ แต่เหรียญดังกล่าวมีลักษณะและลวดลายคล้ายเหรียญบาทปี ๒๕๒๐ มาก ต่างเป็นเพราะเน้นการใช้ส่วนโขนเรือซึ่งเป็นองค์ประกอบที่มีความโดดเด่น อีกทั้งมีขนาดที่แตกต่างกันเพียง ๑ ม.ม. การที่เหรียญทั้งสองชนิดใช้สอยปะปนกันในท้องตลาดทาให้ประชาชนสับสนมาก คนส่วนใหญ่นิยมนาสีเมจิกมาเขียนเลข 5 บนเหรียญเพื่อแยกความแตกต่าง ด้วยเหตุนี้กรมธนารักษ์จึงยุติการผลิตเหรียญรุ่นนี้ในปี ๒๕๓๑ และเปลี่ยนไปใช้ภาพพระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามแทน จึงทาให้เหรียญรุ่นนี้ผลิตออกใช้ในปี ๒๕๓๐ และ๒๕๓๑ เท่านั้น ส่วนเหรียญบาทเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ในเวลาต่อมาคือในปี ๒๕๓๘ ได้เป็นส่วนหนึ่งของเหรียญที่ถูกคืนครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนของไทย โดยมีการถอนคืนเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนในรัชกาลที่ ๙ ชนิดราคา ๕ บาท ๑ บาท ๕๐ สต. และ ๒๕ สต. ที่ใช้สอยอยู่ในท้องตลาดเวลานั้น เพื่อป้องกันมิให้ประชาชนเกิดความสับสนในการใช้เหรียญกษาปณ์ชนิดราคาเดียวกันแต่มีขนาดแตกต่างกัน



เหรียญ 10 บาท แรกของไทย



     จากการศึกษาวิจัยของสานักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ในปี ๒๕๒๕ เกี่ยวกับการคาดการณ์ชนิดราคาของเหรียญกษาปณ์ที่พึงมีใช้ระหว่างปี ๒๕๒๖-๒๕๓๕ พบว่าประชาชนส่วนใหญ่เสนอให้รัฐบาลผลิตและออกใช้เหรียญชนิดราคา ๒๕ ๕๐ สตางค์ ๑ ๒ ๕ บาท และเสนอให้ผลิตชนิดราคาใหม่คือ ๑๐ บาท หากประเทศมีอัตราการขยายตัวของระดับค่าครองชีพที่สูงขึ้น ดังนั้น ในปี ๒๕๒๙ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาเหรียญกษาปณ์ทั้งระบบ กรมธนารักษ์จึงให้ทาการเปลี่ยนแปลงรูปแบบเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนใหม่ทั้งหมด โดยปรับเปลี่ยนขนาด น้าหนัก ตลอดจนส่วนประกอบต่าง ๆ ของเหรียญให้เป็นไปตามต้นทุนที่แท้จริง โดยเน้นการลดขนาดของเหรียญลง และนาเอกลักษณ์สำคัญที่สื่อความหมายถึง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มาไว้บนเหรียญอย่างครบถ้วน โดยด้านหน้าเป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หมายถึง สถาบันพระมหากษัตริย์ ด้านหลังมีคาว่า ประเทศไทย หมายถึง สถาบันชาติ และภาพวัดสำคัญ หมายถึง สถาบันศาสนา อันถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของระบบเงินตราไทย นอกจากนี้ยังได้มีการผลิตเหรียญกษาปณ์โลหะสองสี พระบรมรูป-พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ชนิดราคา ๑๐ บาท ขึ้นใน พ.ศ. ๒๕๓๑ เพื่อทดแทนการใช้ธนบัตรชนิดราคา ๑๐ บาท ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะหยุดผลิต



เมื่อแรกใช้เหรียญ 2 บาท



     ประเทศไทยมีการออกใช้เหรียญชนิดราคา ๒ บาท มาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๒ แต่เป็นเหรียญที่ระลึก ในโอกาสที่สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ฯ ทรงสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากนั้นก็มีการออกใช้เหรียญที่ระลึกชนิดราคานี้อีกหลายวาระ แต่กว่ากรมธนารักษ์จะออกใช้เหรียญหมุนเวียนชนิด ๒ บาทก็เข้าสู่ พ.ศ.๒๕๔๘ เนื่องจากการศึกษาโครงสร้างเหรียญกษาปณ์พบว่า มีการใช้ชนิด ๑ บาทมากที่สุดถึงร้อยละ ๕๖.๑๐ ของเหรียญกษาปณ์ทั้งหมด จึงเห็นควรให้ผลิตเหรียญหมุนเวียนชนิดราคา ๒ บาท เพิ่มเติมเข้ามาในระบบ ซึ่งเป็นตามหลักทฤษฎีอนุกรมเหรียญ (Binary Decimal System) โดยผลิตเป็นเหรียญชุบเคลือบไส้เหล็ก (Nickel Plated Steel) ซึ่งคงทน ยากต่อการปลอม วงขอบนอกเป็นเฟืองจักรสลับเรียบ ผู้พิการทางสายตาแยกความแตกต่างได้และยังนามาใช้กับเครื่องหยอดเหรียญได้ แต่เมื่อใช้ได้ระยะหนึ่งพบว่าการที่มีขนาดและสีใกล้เคียงเหรียญบาท ทาให้ประชาชนสับสน บ้างถึงกับใช้สีเมจิกเขียนกากับราคาบนเหรียญ จึงได้ปรับปรุงให้เป็นโลหะอะลูมิเนียมบรอนซ์ สีทอง ออกใช้ตั้งแต่วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ เป็นต้นมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น