วันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ธนบัตร แบบ 4 (กรมแผนที่)


เริ่มนำออกใช้ : 

     เริ่มทยอยออกใช้เมื่อพุทธศักราช 2485

ชนิดราคา : 

     มี 4 ชนิดราคา ได้แก่  1 บาท  10 บาท  20 บาท และ 100 บาท

ลักษณะสำคัญ : 

    รูปแบบเหมือนธนบัตรแบบ 4 ที่พิมพ์จากบริษัท โทมัส เดอ ลา รู จำกัด แต่พิมพ์ที่กรมแผนที่ทหารบก ธนบัตรแบบนี้จะพิมพ์คำว่า กรมแผนที่ ไว้ตรงขอบล่างของธนบัตรทั้งด้านหน้าและด้านหลัง

เกร็ดน่ารู้ : 

     กองกำลังญี่ปุ่นที่ตั้งฐานทัพในประเทศไทยอ้างว่าภาษาไทยเรียนรู้ยากต้องการให้ใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาราชการ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นเราอาจต้องกลายเป็นเมืองขึ้นของญี่ปุ่น เพื่อรักษาอธิปไตยของชาติ รัฐบาลในยุคนั้น จึงปรับปรุงชุดอักษรไทยใหม่ ดังข้อความที่พิมพ์บนธนบัตรแบบ 4 ในรุ่นที่ 2 เช่น รัถบาลไท ธนบัตรเปนเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกดหมายรัดถมนตรีว่าการกะซวงการคลัง เป็นต้น แต่การใช้ภาษาไทยในรูปแบบนี้ใช้ได้เพียงสองปีเศษ เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลก็กลับไปใช้รูปแบบเดิมต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

พิมพ์ที่     

     กรมแผนที่ทหารบก



ผลกระทบจากสงคราม

     เมื่อพุทธศักราช 2484 กองทัพญี่ปุ่นได้ยกกำลังเข้าสู่ประเทศไทย เพื่อใช้เป็นฐานที่มั่นในการส่งกำลังพลเข้ายึดครองประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และพม่า ซึ่งเป็นอาณานิคมของประเทศคู่สงคราม จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ความต้องการใช้ธนบัตรในประเทศเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก หากแต่การสั่งพิมพ์ธนบัตรจากต่างประเทศไม่สามารถกระทำได้อย่างที่เคยปฏิบัติมา ดังนั้น เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนธนบัตร รัฐบาลไทยจึงตัดสินใจพิมพ์ธนบัตรขึ้นใช้เอง โดยใช้กระดาษจากโรงงานกระดาษไทย จังหวัดกาญจนบุรี และมอบหมายให้โรงพิมพ์ของทางราชการและของเอกชนบางแห่งจัดพิมพ์ ธนบัตรที่พิมพ์ขึ้นในช่วงสงคราม ได้แก่ ธนบัตรแบบ 4 (กรมแผนที่) แบบ 5 แบบ 6 แบบ 7 และแบบพิเศษ




ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก

ธนาคารแห่งประเทศไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น