สำหรับผู้ที่คิดจะเริ่มสะสมธนบัตรใหม่นั้น มีข้อแนะนำเพื่อเป็นแนวทางปฎิบัติดังนี้
ขั้นเตรียมความพร้อมก่อนออกสู่ยุทธภพ
1. หาซื้อคู่มือสะสมธนบัตรไทย ของใครแต่งก็ได้แล้วแต่ท่านชอบด้วยราคาและภาพสวยงามถูกใจ
-เพื่อท่านจะได้เห็นรูปร่าง ขนาด สีธนบัตร ราคาซื้อขาย (ซื้อกันจริงๆจะต่ำกว่าคู่มือเสมอ แต่ถ้าเดินไปร้านคนแต่งตำราแล้วขายธนบัตรด้วยจะโดนหวดอย่างแรง บางใบจะแพงกว่าราคาอ้างอิง ด้วยคำง่ายๆ ? ตัวนี้สวยกิ๊บเลยนะหายาก ราคาย่อมสูงกว่าคุ่มือ ต่อให้คุณตระเวนหาก็ไม่เจอสภาพนี้หรอก? ท่านจงนึกในใจว่า ? ธนบัตรพิมพ์กันเป็นแสน-ล้านใบ จริงอยู่นะเวลานี้มันมีฉบับนี้ที่สวยงามจริง(หรือล้างตัดแต่งมาหรือเปล่าก็ไม่ทราบ) จงอย่ารีบกระโจนเข้าใส่ ของแบบนี้มันสมบัติผลัดกันชม เดี่ยวก็มีของออกมาอีก อาจต้องรอ 4-5ปี แต่ได้ราคาที่ถูกกว่าซื้อ ณ.นาทีนั้นด้วยซ้ำไป?
2. เริ่มหาซื้อหนังสือเก่าเกี่ยวกับธนบัตรมาอ่านจะได้รู้ว่าแต่ละรุ่นเขาพิมพ์กันแบบไหน กระดาษอะไร หมวดไหนบ้างที่พิมพ์ใช้จริง จุดปลอมจะสังเกตตรงไหนบ้าง อันนี้ต้องอ่านแล้วตีความเองนะท่านเพราะตำราบางเล่มก็เขียนมั่วก็มี ต้องอ่านหลายเล่มมาเทียบคียงกัน
3. ออกเดินดูตามตลาดนัดต่างๆพูดคุยกะพ่อค้า(ห้ามซื้อของในช่วงนี้นะ) สอบถาม ก็จะได้ความรู้แบบ 50:50 มาพอเข้าเค้าเรื่องราคาโดยเฉลี่ย จุดดูเล็กน้อย(เขาไม่บอกจุดตายในการดูแน่นอน) บางทีท่านก็อาจได้พบปะนักสะสมรุ่นต่างๆมาซื้อหาธนบัตร ก็ควรไปพูดคุยทำความรุ้จัก ท่านก็จะได้ความรุ้มาประดับเพิ่มอีกแถมได้เพื่อนต่างอาชีพเพิ่มขึ้นอีก ถ้าเกิดคุยถูกคออัธยาศัยดี อาจได้ธนบัตรรุ่น 12-14 ในราคาเท่าหน้าธนบัตรหรือไม่แพงมาก(จะได้ในคราวต่อ ๆ ไปนะ ไม่ใช่เจอกันครั้งแรกก็ได้เลย)
4. ท่านก็จะพอทราบคร่าวๆแล้วว่าที่ไหนเขามีการซื้อขายธนบัตรกันบ้าง (แต่ละที่จะมีราคาและธนบัตรที่แตกต่างกันมาก บางแห่งก็จะมีแต่สภาพไม่ดีราคาแพง ไว้ขายพวกมือใหม่ จงอย่าเห็นว่าเงินแค่หลักร้อยหลักพันได้ธนบัตรยุค ร6-8 มา แล้วควักกระเป๋าซื้อโดยเด็ดขาด เพราะพวกนี้จะสภาพไม่ดีหรือผ่านการตกแต่ง เช่น ล้าง ตัดขอบ ทำให้ดูงามขึ้น แต่เวลาขายออก แทบจะไม่มีคนรับซื้อเลย หรือซื้อก็ถูกมากๆ เรียกว่าขาดทุนเละเทะ แทบจะเอาเท้าก่ายหน้าผาก+หลังกาหลัง 3ตลบ )
5. กลับบ้านมาอ่านตำราเปรียบเทียบดูราคาสภาพ กับของที่ผ่านตามา ค่อยตัดสินใจต่อไป
ขั้นลงจากเขาสู่ยุทธภพ
1. ควรหาซื้ออัลบัมสะสมมาสักเล่มก่อน เลือกแบบสภาพดีหน่อยไม่ต้องแพงมาก
2. เริ่มหาธนบัตรมาใส่ (ควรใส่ซองพลาสติกก่อนใส่ลงในอัลบั้มอีกที)
เริ่มสะสมธนบัตรที่หาได้ง่ายก่อน โดยเริ่มต้นจากธนบัตรที่ออกใช้หมุนเวียนในปัจจุบัน เพราะหาแลกได้ตามธนาคารทั่วไป ให้ครบทุกราคา ในสภาพUNC(uncirculated ไม่ผ่านการใช้การใช้งาน) แล้วค่อยทยอยหารุ่นอื่นๆต่อไป โดยค่อยๆย้อนกลับไปหารุ่นแรกตามแต่โอกาสที่จะหาได้ ซึ่งอาจใช้วิธีซื้อ หรือแลกเปลี่ยนกันกับญาติพี่น้องคนรู้จัก โดยการสอบถาม ท่านก็จะได้มาให้ราคาเท่าหน้าธนบัตรหรือบวกเพิ่มเล็กน้อย (โดยเฉพาะแบบ 12-14 ยังคงมีคนเก็บไว้อยู่จำนวนมาก ปัจจุบันคือแบบ15 ) เมื่อท่านมีครบทุกราคาในบางแบบแล้ว ท่านค่อยขยายการสะสม มาในเรื่องลายเซ็นต์ในแต่ละแบบแต่ละราคา ช่วงนี้จะเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ที่ทำให้นักสะสมบางคนเลิก หรือมีกำลังใจมากขึ้น หรือลดคุณภาพในการสะสมลง(ลดสภาพจาก unc เป็น F((Fine สภาพพอใช้) เพราะติดปัญหาเรื่องงบประมาณ)
ทุกแบบ ทุกราคาล้วนจะมีตัวติดหรือใบที่หายาก ราคาสูงมาก นักสะสมควรใจเย็นรอคอยจังหวะ พยายามทำความรู้จักนักสะสม พ่อค้าให้มากที่สุดเท่าที่ท่านจะมีเวลาให้ ห้ามใจร้อนตรงรี่เข้าไปซื้อเด็ดขาด มิฉะนั้นท่านจะพบว่าท่านได้ของแพงมาโดยมิจำเป็น (ยกเว้นท่านมีเงินเหลือเฟือ สะสมเอามันส์ ) การที่ท่านใจเย็นสักพักท่านก็จะได้ของจากนักสะสมรุ่นเก่าที่เขาเบื่ออยากขายออกหรือมีความจำเป็นต้องใช้เงิน ราคาที่ได้จะไม่แพงเลย (เพราะคนขายสะสมมาตั้งแต่ราคาไม่แพง ขายออกตอนนี้เขาก็คิดว่าเขาได้กำไรมากโขแล้ว และได้ขายของให้นักสะสมที่รักในสิ่งเดียวกัน เขาและท่านย่อมพอใจทั้งคู่ ทั้งยังเป็นการสานสัมพันธ์ อันดีต่อกันในเรื่องอื่นที่จะตามมาในอนาคต
ขั้นท่องยุทธภพ
1. ท่านก็จะพบว่ายังมีธนบัตรแบบแปลกๆที่ไม่มีในตำรามากมาย ทั้งปรู๊ฟ ทั้งตลก(แท้+ทำเองกะมือซะมาก) ท่านก็จะพอดูออกแล้วอฉบับไหนมีคุณค่าน่าสะสมหรือน่าเมินผ่านไป เพราะอ่านตำรายุทธมาอย่างดี +ได้พบจอมยุทธนักสะสมมาหลายท่าน
2. ท่านก็จะพบว่ายังมีนักสะสมรุ่นโคตรเซียน เก็บตัวอยู่ มากมาย และนักสะสม มือใหม่ มือกลาง ทั่วทุกทิศทั่วไทย ท่านก็ควรจะต้องอัพเดทฝีการสะสมมือไปเรื่อยๆ ตามงบประมาณและจุดยืนที่ท่านตั้งใจไว้แต่แรก ห้ามก้าวข้ามจุดยืน มิฉะนั้น จะเกิดอาการธาตุไฟเข้าแทรกนะ ทั้งตังค์ในกระเป๋า เจอของแพง ของปลอมเหมือน ....จริง ชนิดที่ว่าเซียน+พ่อค้าเถียงกันไม่จบก็มี (พวกที่หาข้อยุติไม่ได้นี้ไม่ควรซื้อเข้าอย่างยิ่ง ยกเว้นได้มาฟรี ควรแค่ถ่ายรูปเก้บไว้ศึกษาจะดีกว่า)
3. งานสะสมพวกนี้ถ้าท่านเล่นดีๆก็เสมือนหนึ่งเป้นการออมและลงทุนในระยะยาว เพราะราคาของเหล่านี้จะถูกผลักดันขั้นทุกๆ 5ปี (แต่อย่าลืมต้องคำนึงถึงค่าสูญเสียโอกาสในการลงทุนทางอื่นด้วย เช่น อัตราการลงทุนในทองคำให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 10% ในรอบ 20ปีที่ผ่านมา คุ้มไหมกับที่ที่จะนำเงินมาลงทุนเพื่อเก็งกำไรในงานสะสมชิ้นนี้ หรือท่านซื้อธนบัตรใบนี้เข้าในราคาใด ณ.เวลานั้น ซึ่งควรจะซื้อในราคาต่ำกว่าคู่มือมากๆ จึงจะคุ้มค่า หลายท่านก็อาจสงสัยว่าแล้วจะทำได้หรือ ขอตอบว่า ทำได้ แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนทุกเวลา ขึ้นกับโชควาสนาด้วย แต่การไปไล่ซื้อพ่อค้ามาเก้บนะส่วนใหญ่จะขาดทุนหมดทุกราย (เมื่อเทียบกับอัตราการลงทุนด้านอื่นๆ)
ขั้นเทพเก็บตัว
ท่านจะเบื่อหน่ายเวลาเดินตลาดของสะสม เพราะมีจนไม่รุ้จะมีไปทำไมแล้ว ตัวติดยากๆก็คงไม่มีวันบบรรลุเช่น พวกเงินกระดาษหลวง หมายพระราชทานราคาชั่ง พวกนี้จะหายากมากๆ ท่านรุ้ไปหมดแล้ว ท่านก็จะเริ่มหางานสะสมชนิดอื่นมาทำ ส่วนของสะสมเก่าก็รอวันมอบสู่ลูกหลานในตระกูลคนที่ท่านโปรดปราน แต่จากประสบการณ์ที่พบ ส่วนใหญ่จะพบว่าลูกหลานมันดันไม่ใส่ใจขโมยไปขายแบบถูกๆซะเนี่ย กลับมาเปิดกรุดู อ้าว ตรู..เล่นมาทั้งชีวิต มันหอบไปเกลี้ยง 555+ กับอีกแบบทั้งยัดทั้งกราบให้ช่วยสืบทอดแต่กลับไม่มีใครสนใจ จึงจำเป็นต้องขายออกทอดตลาด ให้นักสะสมรุ่นใหม่ .. ถ้าท่านใดเจอประเภทหลังนี่นับว่าโชคดี แบบพระเอกในหนังจีนกำลังภายในเลย อยุ่ก็มีคนเอาวรยุท์+อาวุธตำรา มาถ่ายทอดให้ สบาย ไม่ต้องสะสมพลังวัตต์นานนับสิบปี เหมือนท่านอื่นๆ
นักสะสมจะต้องแบ่งการสะสมออกเป็น 4 ระดับ
1. ระดับพื้นฐาน (Basic set ) คือ การสะสมธนบัตรให้ครบทุกแบบ และมีครบทุกราคาในแบบ โดยไม่จำเป็นต้องมีครบทุกลายเซ็นในแบบ(สะสมเฉพาะแบบ9-ปัจจุบัน) ยกตัวอย่างเช่น ธนบัตรแบบ 9 ราคา 1 บ. มีทั้งหมด 19ลายเซ็น ท่านก็อาจเลือกมา1ใบ มาจัดชุดคู่ราคา 5 10 20 100 บและ50สต. ให้ครบก็พอแล้ว
2. ระดับกลาง( Medium Set) คือการสะสมคล้ายแบบ1 แต่ จะเพิ่มแบบ 1- 8 ลงไปด้วย และพยายามหาลายเซ็นให้มากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ตามงบที่ตนเองมีอยู่ แต่ก็ไม่จำเป็นต้องครบลายเซ็นต์
3. ระดับสูง (Advance Set) คือ การสะสมแบบครบทุกแบบ ทุกราคา ทุกลายเซ็นต์รวมถึงหมวดคร่อมหมวดชนต่างๆ ในระดับนี้แต่ละท่านยังมีการแบ่งย่อยออกไปอีก ตามความพอใจและกำลังทรัพย์ เช่น สะสมธนบัตรที่ไม่ได้มีประวัติบันทึกว่ามีจำนวนพิมพ์เท่าใด มีการสั่งพิมพ์จริงไหม หรือแค่ของwaste product ของโรงพิมพ์ เช่น พวกธนบัตรตัวอย่างแบบ 1- 9 ที่ผู้เขียนพบข้อสังเกตบางประการ ว่าแตกต่างกันมาก ในรุ่นและราคาเดียวกัน ลายเซ็นต์เดียวกัน การสะสมหมวดเสริมให้ครบทุกราคาทุกลายเซ็นต์ การสะสมธนบัตรปลอมยุคเก่า
4. ระดับผู้เชี่ยวชาญ (expert Set ) คือการสะสม แบบที่ 3 ควบคู่ไปกับการศึกษาเอกสารทางประวัติศาสตร์ต่างๆที่เกี่ยงข้องกับกระบวนการพิมพ์ธนบัตร เช่น จดหมายเหตุ บันทึกของบุคคล ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการพิมพ์ ธนบัตร ที่มาที่ไปของธนบัตรเก่าต่างๆ พวกนี้จะเน้นข้อมุลเชิงลึกทุกอย่างเชิงประวัติศาสตร์ พร้อมไปกับธนบัตรที่สะสม
การสะสมระดับ 3 และ 4 นี้ ต้องมีความเข้าใจและทำใจให้ได้ว่าจะสามารถสะสมให้ได้มากที่สุดเท่านั้น ไม่มีทางที่จะสะสมให้ครบทุกอย่างตามคู่มือได้(หมายถึงมีทุกหมวดต้น หมวดชนเ ลขตองในทุกแบบทุกราคา หมายพระราชทาน ทุกราคา เงินกระดาษหลวง) ขอเน้นให้นักสะสมเข้าใจในจุดนี้ให้มาก เพราะหากต้องการสะสมระดับ3-4 ควรทำใจไว้ล่วงหน้า และต้องเข้าใจว่าท่านสะสม เป็นงานอดิเรก สะสมแล้วผ่อนคลาย มีความสุข หลายท่านอาจสงสัยว่า ถ้าไม่ครบชุดในระดับ3-4 แล้ว ทำไมคู่มือจึงต้องลงรายละเอียดทุกรุ่นทุกแบบที่ออก ขอเรียนชี้แจงว่า คู่มือนั่นผู้เขียนต้องการทำให้แบบมาตรฐานตามหลักวิชาการ สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาหาความรู้อย่างแท้จริง เพื่อให้วงการสะสมธนบัตรทั่วโลกนำไปอ้างอิงได้ ซึ่งรายละเอียดในคู่มือเหล่านั่นก็ได้จากของสะสมจากนักสะสมหลายๆท่านนำมารวมกัน จึงครบหรือเกือบครบ
ฝากข้อคิดไว้ว่า? คุณค่าของสะสมไม่ได้อยู่ที่ของราคาแพง... แต่อยู่ที่ความสุขใจอันเกิดจากการได้เก็บรักษาของที่เรารัก?
การดูธนบัตรว่า Unc นั้น มีหลายวิธี แล้วแต่ใครจะใคร่ใช้ สำหรับเราจะใช้หลายแบบร่วมกัน ส่วนธนบัตรแบบมาทั้งแหนบ ก็อย่าเพิ่งมั่นใจนะว่า Unc เพราะอาจล้างมาทั้งแหนบก็ได้ โดยเฉพาะแหนบที่สายรัดแหนบเก่าไม่ตรงยุคนี่พึงระวัง พบได้มากในธนบัตรแบบ 9 ล้างกันมากเพราะมันคุ้มค่า วันนี้ง่วงแล้ว พรุ่งนี้จะอธิบายว่าการดูว่าธนบัตร UNC ทำอย่างไร ท่านอื่นมีวิธีอื่นก็ช่วย ๆ กันแนะนำมานะ จะได้ขยายความรุ้ให้กว้างขวางยิ่งขึ้นไป
การล้างทำได้ทั้งเหรียญ ธนบัตร และแสตม์ป น้ำยาที่ใช้อาจแตกต่างกันเท่านั้น จะไม่ลงรายละเอียดในสุตรน้ำยานะ เพราะเวปนี้เป็นสาธารณะ อาจมีผู้คิดฉ้อฉลเกิดนำไปใช้ (ปัจจุบันก้มีคนล้างเยอะอยู่แล้ว ไม่อยากให้มันมีคนล้างมากขึ้น)
แต่จะบอกวิธ๊สังเกตแทนนะ ว่าผ่านการล้างมาหรือไม่ ต่อให้ล้างเก่งแค่ไหนก็ดูออก ถ้าคุณไม่ใจร้อนค่อยสังเกตดู
1. ธนบัตร ล้างแล้ว ทับให้เรียบสัก2-3วัน ก็ขายได้
2. แสตม์ป จะล้างใน 2 กรณี คือใช้แล้วแต่มีสนิมหรือเหลือง ทำให้ขาว ดูมีราคา อันนี้ยังไม่น่ากลัวเท่า นำแสตม์ป ชุดแพงที่ยังไม่ใช้แต่ มีสนิม มาล้างแล้วทำกาวใหม่ มาขายในสภาพนอก นี่สิน่ากลัวมาก เพราะการล้างกาวออกก็เท่ากับคุณค่าแสตม์ปนั้นตกลงเหลือเท่าแบบใช้แล้ว
3. เหรียญ นี่ จะล้างได้ทุกแบบ ยกเว้นเหรียญ พวก 2 สี เช่น สิบบาท เพราะ จะเกิดปฏิกิริยาออกชิเดชั่นและรีดักชั่นของเนื้อโละไม่เท่ากัน จะทำให้เนื้อส่วนผสมปนเปื้อนกันเละเทะ
ธนบัตรไม่ผ่านการใช้งาน (UNC) สังเกตได้อย่างไร
นักสะสมหลายท่านต่างก็มีวิธีดูเฉพาะแบบ แต่วิธีที่จะนำเสนอต่อไปนี้ เกิดมาจากศึกษาค้นคว้าในเรื่องกระดาษ หมึกพิมพ์ เทคนิคการพิมพ์ ของแต่ละบ.ที่พิมพ์ธนบัตรในแต่ละยุค ซึ่งถ้าเราเข้าใจเรื่องพวกนี้ดีพอเราก็จะตัดสินใจได้เลยว่าธนบัตรแบบต่างๆที่นำมาเสนอขายนั้นUNC จริงหรือไม่โดยไม่ต้องไปถามใครให้ยุ่งยาก มาดูวิธีที่เข้าใช้กันท้องตลาดก่อน
1. ธนบัตรไม่ผ่านการใช้งาน จะต้องมีสีออกขาวมอๆหรืออมเหลืองอ่อนๆตามยุคสมัยของกระดาษที่เก็บนาน ---- ไม่จริงเสมอไป เพราะธนบัตรบางฉบับไม่มีรอยพับก็จริงแต่เก็บรักษาไม่ดี มีคราบสนิมหนัก เขาก็ล้างด้วยน้ำยาสูตรเข้มข้น ผลคือ ธนบัตรจะขาววอกไป ก็ต้องมาทำการย้อมให้ออกขาวอมเหลืองมอ ๆ หน่อย ก็จะสวยปิ๊ง อัพราคาสูงลิบ ตรงนี้จุดนี้ถ้าเข้าใจแบบที่ศึกษามาปัญหานี้ก็จะหมดไป ยังไม่เฉลย ลองไปคิด ๆ กันดูก่อนว่าจะพิสูจน์อย่างไรว่าย้อมหรือไม่ แล้วจะมาเฉลย
2. ธนบัตรไม่ผ่านการใช้งาน ต้องแข็งตึ้ก จับมาสะบัด ๆ จะดังพับ ๆ อันนี้ก็ไม่แน่ เพราะล้างแล้วทับ แล้วลงสารบางชนิด ก็แข็งตึ๊ก ๆ ผับๆๆเลย ถ้าใช้จุดนี้สังเกตก็ตกม้าตายมาหลายรายแล้ว อีกอย่างถ้าเป็นธนบัตร แบบ 1 4 (กรมแผนที่) 6 และ 7 ท่านไปจับสะบัดพึ่บ ๆ อาจเกิดการฉีกขาดตรงลายน้ำคลื่นได้ คราวนี้ละงานเข้า เจ้าของเขาต้องเรียกค่าเสียหายแน่ ๆ ส่วนแบบ 1 หน้าเดียว กระดาษบางอยู่แล้ว และเจ้าของเขาจะใส่ซองแข็ง 2 ชั้น ไม่ยอมให้ท่านดึงมาสะบัดแน่นอน เพราะใบหนึ่งว่ากันที่ หลักแสนถึงหลายล้านบาท
3. ธนบัตรไม่ผ่านการใช้งาน สีต้องสดใส มีซีดจาง ขอบมุมไม่คมกริบไปนัก อันนี้จริง ถ้าขอบมุมคม 90 องศา นะตัดแต่งขอบมาชัวร์
คราวนี้มาดูวิธีนี้บ้าง
1. ธนบัตรแบบ 1 หน้าเดียว จะพิมพ์แบบราบไม่มีเส้นนูน ใช้หมึกชนิดเดียวกับที่พิมพ์แสตมป์ ร.5 ชุด 2-3 คือโดนน้ำแล้วหมึกจะจางลง และไม่ทนต่อสารเคมีมากนัก ดังนั้น ถ้าท่านพบแบบที่สีซีดก็เป็นไปได้ 2 กรณีคือ ใส่กรอบโชว์ไว้นานโดนแสงเลีย กับทับน้ำมาให้เรียบ ธนบัตรแบบ 1 นั้นดูว่า Unc นั้นไม่ยาก แต่ดูว่าปลอมไหมนี่สิยาก เพราะมีการปลอมยุคเก่าจาก 2 ประเทศถ้าเป้นแบบผ่านการใช้มาแล้วจะดุยากพอสมควร
2. ธนบัตรแบบที่ 2 - ปัจจุบัน จะพิมพ์โดยใช้ระบบหมึกกองนูน (Intaglio) ถ้าเป็นแบบ 2-9 นี่หมึกมันจะเงามากเพราะความร้อนชื้นในประเทศไทย เวลายกส่องพลิกเอียงทำมุม 30 องศาในแสงธรรมชาติจะเห็นเป็นเงาสะท้อนแสง ดังนั้นเวลาซื้อควรขอดูในแสงธรรมชาติเท่านั้น ถ้าท่านไปซื้อในร้านตามห้าง ก็ควรพกแว่นขยายชนิดที่มีไฟ LED*40 เท่าไปด้วยและพลิกมุมกล้องไปมา
3. ความแข็งของธนบัตรและสีขอบ สีตัวธนบัตร ก็จะนำมาพิจารณาประกอบในอันดับท้ายๆ ด้วยเหตุผลที่กล่าวข้างต้น
4. กระดาษที่ใช้พิมพ์ธนบัตร จะประกอบการพิจารณาเรื่องความแท้และสภาพของธนบัตรว่าผ่านการใช้งานมาหรือไม่ ซึ่งจะกล่าวในบทถัดไป ....
การซื้อธนบัตรเป็นแหนบหรือยกลูกควรพิจารณาดังนี้
1. สายรัดธนบัตรในแต่ละแหนบควรเป็นของเดิม ถ้าเป็นของใหม่ให้พึงสันนิษฐานไว้ก่อนว่าอาจล้างมาทั้งแหนบ สีของสายรัดจะเหลือง+กระดาษกรอบ หรือขยับสายรัดดูจากตำแน่งเดิม ตำแน่งที่โดนสายรัดจะขาวกว่าตำแหน่งอื่นแสดงว่าสายรัดนั้นอยู่กับแหนบนั้นมานานเป็นของเดิม(มีเจ้าของบางคนเก็บรักษาดีก็มี แต่ยังไงสีของสายรัดมันจะอมเหลืองกว่าตัวธนบัตรแน่นอน เพราะ ธนบัตรทำจากฝ้ายหรือลินิน หรือมิตซูมาต้า(แบบ5) แต่กระดาษสายรัดทำจากเยื่อไผ่
2. กรณีที่แหนบนั้นมีธนบัตรสภาพย่น ๆ ปน และขาวทั้งแหนบ ตีไปเลยว่าล้างมาแบบเอาเร็วขี้เกียจไล่ทับให้เนื้อกระดาษเรียบ คนขายจะอ้างว่าชื้นก็ไม่ต้องสนใจแล้ว
3. พวกยกลูก 1000 ฉบับ นี่ไม่ค่อยมีปัญหาเพราะจะอยู่ในกล่องกระดาษ (แบบ 2- 9) มีตราครั่ง + เชือกครบ เวลาซื้อขายจะผ่าด้านข้างกล่องให้เห็น พวกนี้มักขาวสวย เพราะมีกล่องกระดาษหุ้มมาก่อนแล้ว ถูกต้องแล้ว ถ้ายิ่งเป็นลูก (1000ฉบับเรียงเลข) ยิ่งแพงกว่าอีก เช่น 5บ.แบบ 9 ลายเซนต์ธรรมดา ราคาต่อใบ 100บ ราคา/แหนบ 12000บ ราคาต่อลูก 230000 บ จะเห้นว่าราคาจะก้าวกระโดด ราคานี้คือราคาพ่อค้าขายให้นักสะสมนะ แต่ถ้าเอาเงิน แสนสองแสนไปทำอย่างอื่นดีกว่า ยังทำประโยชน์ได้มากกว่ามาซื้อของพวกนี้ ไว้รวยๆแล้วมีเงินเหลือๆสักหมื่นล้านค่อยมาซื้อดีก่า ราคาธนบัตรเพิ่งมาแรงในช่วงหลังปี 40 นี่เอง แต่ก่อน F12 ป-เดช ใบละ13000บ คนยังเมินเลย การเก็บธนบัตรควรเก้ยราคาตำสดีกว่า เพราะจะมีราคามากกว่า เช่น ราคา 1 บ -20 บ ราคาสูง ยากที่จะคุ้ม ยกเว้นคุณจะมีอายุเกิน 100 ปีถึงจะเห้นผลแบบหนัก ๆ ส่วน 100 บโทมัส จะคุ้มก็เห้นมีอยุ่แค่ 2ใบ คือ B60 97 เท่านั้น ที่พอจะให้ผลสูสีกับทองได้ แต่ถามว่าใครในเวลานั้นจะรุ้ล่วงหน้าว่ามันจะมีหมวดเดียวหรือ 0.1หมวด มันอาศัยโชควาสนาเสียมากกว่า เน้นเสมอว่า ถ้าเน้นเล่นธนบัตรแบบเก็งกำไร ไม่คุ้มหรอก เจ็งกับเจ๊าเท่านั้น ถ้าเก็บแบบสนุกแบบศึกษาไปด้วยน่าจะดีกว่า การหวงัว่าเราจะมีตัวแพง ทำกำไรได้เวลาขายออก วงการนี้ยังแคบมากในเมืองไทย นี้ 10 บ 20 บหน้าหนุ่ม แค่หาสวย ๆ 1ใบยังยากเลย นับคุณโชคดีมาก ๆ ของสะสมนี่คนชอบแค่ได้เห้นมันก็มีความรุ้สึกปลาบปลื้มมีความสุขแล้ว
สมัยก่อนเคยเจอนักสะสมรุ่นเก่ามากๆคนหนึ่ง ก็ไม่ได้ตั้งใจไปซื้อธนบัตรหรอก ตอนนั้นแค่บ้าแสตม์ป ไปบ้านท่านคุยกันไปมาท่านก็ปรารภว่าไม่มีผุ้สืบทอด ลูกก็มีแต่โมมยไปขายแบบถูกไม่รุ้ค่า เพราะติดการพนัน ช่างน่าสงสาร ท่านพาเข้าชมห้องเก็บของสะสมบางห้องของท่าน ใหญ่มาก ๆ ละลานตาจริง ๆ เรียกว่าถ้าดูกัน ปีหนึ่งก็ไม่หมด หลายพันอัลบั้ม หลายร้อยกล่องพลาสติกแบบใหญ่ ท่านยกมาให้เราดูเปิดไปเรื่อย ๆ ได้พวก แบบ 1-2 5 มาเยอะพอควร เสียดายตอนนั้นไม่มีเงินพอจะซื้อท่าน ทั้งหมด ก็ได้แค่เลือกๆมา มันมีความสุขมากตอนนั่งดูไปแต่ ๆ อัลบัม เวลา 1วัน ที่ไปหาท่านช่างหมดไปอย่างรวดเร็ว
ขอขอบคุุณข้อมูลจาก
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1636824596536906&id=1636677149884984&substory_index=0
แหล่งรวบรวมความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสะสม เหรียญกษาปณ์ เหรียญที่ระลึก ธนบัตรไทย แสตมป์ หรือของสะสมชนิดต่างๆ มากมาย เหมาะสำหรับนักสะสมมือใหม่ทุกท่าน
วันอาทิตย์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2560
9 เรื่องเล่า 9 เหรียญกษาปณ์ : รัชกาลที่ 9
เหรียญแรกในรัชกาล
ดังนั้นเหรียญแรกในรัชกาลคือ เหรียญอลูมิเนียมบรอนซ์ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่าเหรียญทองเหลือง ชนิดราคา ๕๐ สตางค์ เหรียญนี้มีส่วนผสมของทองแดง 91% อลูมิเนียม 9% ลักษณะเหรียญทองแดงนั้นมีสีทอง เนื่องจากส่วนผสมของทองแดง และอลูมิเนียมอัตราส่วนนี้ ทาให้เป็นสีทองเหลืองแทนที่จะเป็นสีแดงของทองแดง
ด้านหน้าเป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ด้านหลังเป็นรูปตราแผ่นดินสมัยรัชกาลที่ ๕ เบื้องล่างระบุ พ.ศ. ๒๔๙๓ เหรียญนี้ผู้ออกแบบและปั้นแบบด้านหน้าคือ กรมศิลปากร ส่วนผู้ออกแบบและปั้นแบบด้านหลังคือ นายสานต์ เทศะศิริ กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์
เหรียญบาทที่โดดเด่น
เหรียญชนิดราคา ๑ บาท เปรียบประดุจสัญลักษณ์ของเงินบาทไทย และเป็นตัวแทนค่าของเงินบาท เงินบาทมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในอดีตเงินตราไทยคือ เงินพดด้วง จะไม่ระบุชนิดราคาบนตัวเงิน ราคาของเงินขึ้นกับน้าหนัก อันมีมาตรฐานคือ ๑ บาท เท่ากับโลหะเงินหนัก ๑๕.๒ กรัม ไทยเรามาเลิกทาเหรียญบาทจากโลหะเงินในปลายสมัยรัชกาลที่ ๖ เพราะโลหะเงิน ๑๕.๒ กรัม มีค่ามากกว่าเหรียญที่มีชนิดราคา ๑ บาท ซึ่งกว่าจะมีการทาเหรียญบาทอีกครั้งก็ในรัชกาลที่ ๙ ซึ่งเปลี่ยนมาใช้โลหะอื่นที่ราคาถูกกว่าเงินแล้ว เหรียญบาทที่เปรียบเสมือนตัวแทนของเหรียญบาททั้งหลายในรัชกาลนี้คือ เหรียญบาทที่แรกผลิตใน พ.ศ. ๒๕๐๕ เพราะมีขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางถึง ๒๗ ม.ม. น้าหนัก ๗.๕ กรัม และสวยงาม ด้วยฝีมือการออกแบบและปั้นแบบด้านพระบรมรูป โดยนายสานต์ เทศะศิริ กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ (ด้านหลังใช้แบบเดิมของเหรียญบาท พ.ศ. ๒๕๐๐) ผลิตจากโลหะผสมที่เรียกว่า คิวโปรนิกเกิล (Cupro-Nickle) เหรียญนี้ผลิตติดต่อกันมาหลายครั้ง แต่มิได้เปลี่ยนเลข พ.ศ. ทั้งนี้ กรมธนารักษ์ได้นาเหรียญนี้ ออกจ่ายแลกตั้งแต่วันที่ ๔ธันวาคม ๒๕๐๕ เป็นต้นไป
แรกมีเหรียญ 5 บาท
ประเทศไทยออกใช้ธนบัตรชนิดราคา ๕ บาท เป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๕ แต่เพิ่งมีการผลิตและออกใช้หมุนเวียนเหรียญ ๕ บาท ก็ในสมัยรัชกาลที่ ๙ นี้เอง เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะในห้วง พ.ศ.๒๕๑๕ ภาวะค่าครองชีพสูงขึ้น มีปริมาณการใช้ธนบัตรชนิดราคา ๕ บาทในท้องตลาดมาก แม้ว่าตั้งแต่ปี ๒๕๑๒ ประเทศไทยจะพิมพ์ธนบัตรได้เอง แต่ก็เกิดการขาดแคลน กอปรกับธนบัตรมีอายุงานเฉลี่ยราว 1 ปี ต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูง รัฐบาลจึงมีแผนที่จะยกเลิกการผลิตธนบัตร ๕ บาท (ยุติการผลิตธนบัตรชนิดราคานี้ราว ๆ พ.ศ.๒๕๑๗-๒๕๑๘) โดยผลิตเหรียญ ๕ บาทแทน รัฐบาลจึงออกกฎกระทรวงการคลัง ฉบับที่ ๑๔ ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๑๕ ให้ผลิตเหรียญ ๕ บาท โดยให้มีรูปทรงเก้าเหลี่ยม มีความหมายถึงรัชกาลที่ ๙ ผู้ออกแบบและปั้นแบบด้านหน้าคือ นายไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ กรมศิลปากร ส่วนผู้ออกแบบและปั้นแบบด้านหลังคือนายสานต์ เทศะศิริ กรมธนารักษ์ เหรียญนี้ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๖ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่มีการปลอมเหรียญนี้ออกมาในท้องตลาดมากแม้จะกวดขันจับกุมก็ไม่ทาให้เหรียญปลอมลดลงได้ ทาให้ประชาชนไม่กล้ารับชาระหนี้ด้วยเหรียญนี้ กระทรวงการคลังจึงออกพระราชกาหนดถอนคืนเมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๒๑ เป็นกรณีเร่งด่วน
เหรียญบาทพระครุฑพาห์
เนื่องจากเหรียญพระบรมรูป-ตราแผ่นดิน ชนิดราคา ๑ บาทที่ออกใช้มาตั้งแต่ปี ๒๕๐๕ นั้น มีขนาด ๒๗ ม.ม. เท่ากับเหรียญพระบรมรูป-พระครุฑพ่าห์ ชนิดราคา ๕ บาท พ.ศ.๒๕๑๕ แม้ว่ากรมธนารักษ์จะได้ป้องกันปัญหาที่อาจเกิดความสับสน ด้วยการออกแบบรูปทรงเก้าเหลี่ยมแล้วก็ตาม แต่โดยหลักกษาปณ์สากลแล้ว เหรียญที่ราคาต่างกันเช่นนี้ ไม่ควรมีขนาดที่ใกล้เคียงกัน ดังนั้น ในปี ๒๕๑๗ รัฐบาลจึงดาริให้กรมธนารักษ์ผลิตเหรียญกษาปณ์ ๑ บาทแบบใหม่ขึ้น เป็นเหรียญกษาปณ์พระบรมรูป-ตราพระครุฑพ่าห์ พ.ศ.๒๕๑๗ ให้มีน้าหนักและขนาดเล็กกว่าเหรียญบาท พ.ศ.๒๕๐๕ ลดขนาดลงจาก ๒๗ ม.ม.เหลือ ๒๕ ม.ม. และลดน้าหนักลงจาก ๗.๕ เป็น ๗ กรัม ด้านหลังเปลี่ยนเป็นตราพระครุฑพ่าห์ เพื่อให้สอดคล้องเป็นเงินตราชุดเดียวกับเหรียญกษาปณ์ ๕ บาท รุ่นเก้าเหลี่ยม เหรียญนี้ผู้ออกแบบด้านหน้าคือนางไพฑูรย์ศรี ดีปานวงศ์ ด้านหลังนางสาวปราณี คล้ายเชื้อวงศ์ ส่วนผู้ปั้นแบบด้านหน้าคือนางไพฑูรย์ศรี ดีปานวงศ์ ด้านหลังคือนายมนตรี ดีปานวงศ์ ทุกท่านสังกัดกรมธนารักษ์เหรียญรุ่นนี้มีการผลิตในปีต่อ ๆ มา โดยไม่เปลี่ยน พ.ศ. และเป็นเหรียญบาทอีกเหรียญหนึ่งที่ประชาชนนิยมมากเพราะด้านหลังเป็นรูปครุฑ อีกทั้งมีการผลิตน้อยเพราะระยะเวลาออกใช้ราว ๓-๔ ปีเท่านั้น
เหรียญ 5 บาท พระครุฑเฉียงซ้าย
เนื่องจากเหรียญ ๕ บาท เก้าเหลี่ยม พ.ศ.๒๕๑๕ มีลวดลายและรูปแบบไม่ซับซ้อน เป็นเหตุให้มีผู้ทาปลอมขึ้นเป็นจานวนมาก ทางรัฐบาลจึงแก้ปัญหาด้วยการประกาศถอนคืนเหรียญรุ่นดังกล่าว พร้อมทั้งให้กรมธนารักษ์ดาเนินการจัดทาเหรียญชนิดราคา ๕ บาทแบบใหม่ขึ้น โดยทาการแก้ไขลักษณะและลวดลายของเหรียญกษาปณ์ทั้งหมดเพื่อให้ทาการปลอมแปลงได้ยาก ข้อสังเกตคือมีการใช้พระปรมาภิไธย “สยามมินทร์” บนเหรียญเป็นครั้งแรก ผู้ออกแบบด้านหน้าคือนางสาวสุภาพ อุ่นอารีย์ ผู้ออกแบบด้านหลังคือ นายสานต์ เทศะศิริ ส่วนผู้ปั้นแบบด้านหน้า คือนายมนตรี ดีปานวงศ์ ผู้ปั้นแบบด้านหลังคือนายสานต์ เทศะศิริ ทั้งหมดเป็นข้าราชการกรมธนารักษ์ ประกาศออกใช้เหรียญรุ่นใหม่นี้เมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๒๐ เหรียญรุ่นนี้เป็นเหรียญกษาปณ์คิวโปรนิกเกิลสอดไส้ทองแดง ขอบเรียบ ตัวเหรียญประกอบด้วยทองแดง ๗๕% และนิกเกิล ๒๕ % ที่ริมขอบเหรียญจะมองเห็นไส้ทองแดงได้อย่างชัดเจน ระบุคาว่า “กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง” ซึ่งเทคนิคการอัดโลหะเป็นชั้นและการทาขอบเหรียญแบบนี้ เป็นวิธีการที่นามาใช้ในเหรียญกษาปณ์ไทยเป็นครั้งแรก
เหรียญปลีกที่ใช้ภาพรวงข้าว
ในสมัยคุณพ่อคุณแม่ยังหนุ่มยังสาว เศษสตางค์ยังมีคุณค่า ราว พ.ศ.๒๕๑๔ สมัยรัฐบาลคณะปฏิวัตินาโดยจอมพลถนอม กิตติขจร มีการขึ้นราคาค่ารถเมล์ประจาทางจาก ๕๐ สต. เป็น ๗๕ สต. ได้มีกลุ่มนักศึกษาเรียกร้องให้ลดราคาเท่าเดิม ด้วยการใช้คำขวัญว่า “พึงขจัด ๗๕ เหลือ ๕๐” อันแสดงว่าเงิน ๕๐ สต.และ ๒๕ สต. ก็มีความสำคัญต่อการครองชีพของประชาชน ซึ่งในเวลาที่กล่าวถึงนี้ชาวบ้านใช้เหรียญ ๕๐ สต. และ ๒๕ สต.ในรูปแบบที่ออกใช้มาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๐ จนกระทั่งในปี ๒๕๑๙ รัฐบาลเห็นว่าบ้านเมืองประสบปัญหาเงินเฟ้อ ส่งผลให้ราคาของโลหะตลอดจนต้นทุน การผลิตเหรียญสูงขึ้นกว่าราคาหน้าเหรียญเป็นอย่างมาก ควรปรับปรุงแก้ไขลักษณะมาเป็นเหรียญกษาปณ์ทองเหลืองแบบใหม่ โดยลดส่วนผสมที่เป็นทองแดงลงเพื่อลดต้นทุน กรมธนารักษ์จึงได้ออกแบบภาพพระบรมรูปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขึ้นใหม่ ส่วนตราด้านหลังได้ใช้ภาพรวงข้าว ประกอบกับตัวอักษรบอกราคาที่เห็นได้ชัดเจนขึ้น เหรียญ ๒๕ สต.ออกใช้ก่อนในปี ๒๕๑๙ ส่วน ๕๐ สต.ออกปี ๒๕๒๓ และถือว่าเป็นเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนที่ไม่มีสัญลักษณ์ตราแผ่นดินเป็นครั้งแรกในรัชกาลที่ ๙
เหรียญที่มีคู่แฝด
ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเหรียญกษาปณ์พระบรมรูป-เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ชนิด ราคา ๕ บาท พ.ศ. ๒๕๓๐ ซึ่งมีลักษณะคล้ายเหรียญบาท พ.ศ. ๒๕๒๐ ที่ด้านหน้าเป็นพระบรมรูปรัชกาลที่ ๙ ด้านหลังเป็นรูปเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์เช่นเดียวกัน กล่าวคือในปี ๒๕๓๐ กรมธนา-รักษ์ได้ผลิตเหรียญ ๕ บาทแบบใหม่ขึ้น เป็นเหรียญทองขาว (คิวโปรนิเกิล) สอดไส้ทองแดง โดยมีการนาภาพ ส่วนโขนเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ มาใช้เป็นภาพประธานด้านหลังของเหรียญ แต่เหรียญดังกล่าวมีลักษณะและลวดลายคล้ายเหรียญบาทปี ๒๕๒๐ มาก ต่างเป็นเพราะเน้นการใช้ส่วนโขนเรือซึ่งเป็นองค์ประกอบที่มีความโดดเด่น อีกทั้งมีขนาดที่แตกต่างกันเพียง ๑ ม.ม. การที่เหรียญทั้งสองชนิดใช้สอยปะปนกันในท้องตลาดทาให้ประชาชนสับสนมาก คนส่วนใหญ่นิยมนาสีเมจิกมาเขียนเลข 5 บนเหรียญเพื่อแยกความแตกต่าง ด้วยเหตุนี้กรมธนารักษ์จึงยุติการผลิตเหรียญรุ่นนี้ในปี ๒๕๓๑ และเปลี่ยนไปใช้ภาพพระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามแทน จึงทาให้เหรียญรุ่นนี้ผลิตออกใช้ในปี ๒๕๓๐ และ๒๕๓๑ เท่านั้น ส่วนเหรียญบาทเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ในเวลาต่อมาคือในปี ๒๕๓๘ ได้เป็นส่วนหนึ่งของเหรียญที่ถูกคืนครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนของไทย โดยมีการถอนคืนเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนในรัชกาลที่ ๙ ชนิดราคา ๕ บาท ๑ บาท ๕๐ สต. และ ๒๕ สต. ที่ใช้สอยอยู่ในท้องตลาดเวลานั้น เพื่อป้องกันมิให้ประชาชนเกิดความสับสนในการใช้เหรียญกษาปณ์ชนิดราคาเดียวกันแต่มีขนาดแตกต่างกัน
เหรียญ 10 บาท แรกของไทย
จากการศึกษาวิจัยของสานักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ในปี ๒๕๒๕ เกี่ยวกับการคาดการณ์ชนิดราคาของเหรียญกษาปณ์ที่พึงมีใช้ระหว่างปี ๒๕๒๖-๒๕๓๕ พบว่าประชาชนส่วนใหญ่เสนอให้รัฐบาลผลิตและออกใช้เหรียญชนิดราคา ๒๕ ๕๐ สตางค์ ๑ ๒ ๕ บาท และเสนอให้ผลิตชนิดราคาใหม่คือ ๑๐ บาท หากประเทศมีอัตราการขยายตัวของระดับค่าครองชีพที่สูงขึ้น ดังนั้น ในปี ๒๕๒๙ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาเหรียญกษาปณ์ทั้งระบบ กรมธนารักษ์จึงให้ทาการเปลี่ยนแปลงรูปแบบเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนใหม่ทั้งหมด โดยปรับเปลี่ยนขนาด น้าหนัก ตลอดจนส่วนประกอบต่าง ๆ ของเหรียญให้เป็นไปตามต้นทุนที่แท้จริง โดยเน้นการลดขนาดของเหรียญลง และนาเอกลักษณ์สำคัญที่สื่อความหมายถึง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มาไว้บนเหรียญอย่างครบถ้วน โดยด้านหน้าเป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หมายถึง สถาบันพระมหากษัตริย์ ด้านหลังมีคาว่า ประเทศไทย หมายถึง สถาบันชาติ และภาพวัดสำคัญ หมายถึง สถาบันศาสนา อันถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของระบบเงินตราไทย นอกจากนี้ยังได้มีการผลิตเหรียญกษาปณ์โลหะสองสี พระบรมรูป-พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ชนิดราคา ๑๐ บาท ขึ้นใน พ.ศ. ๒๕๓๑ เพื่อทดแทนการใช้ธนบัตรชนิดราคา ๑๐ บาท ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะหยุดผลิต
เมื่อแรกใช้เหรียญ 2 บาท
ประเทศไทยมีการออกใช้เหรียญชนิดราคา ๒ บาท มาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๒ แต่เป็นเหรียญที่ระลึก ในโอกาสที่สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ฯ ทรงสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากนั้นก็มีการออกใช้เหรียญที่ระลึกชนิดราคานี้อีกหลายวาระ แต่กว่ากรมธนารักษ์จะออกใช้เหรียญหมุนเวียนชนิด ๒ บาทก็เข้าสู่ พ.ศ.๒๕๔๘ เนื่องจากการศึกษาโครงสร้างเหรียญกษาปณ์พบว่า มีการใช้ชนิด ๑ บาทมากที่สุดถึงร้อยละ ๕๖.๑๐ ของเหรียญกษาปณ์ทั้งหมด จึงเห็นควรให้ผลิตเหรียญหมุนเวียนชนิดราคา ๒ บาท เพิ่มเติมเข้ามาในระบบ ซึ่งเป็นตามหลักทฤษฎีอนุกรมเหรียญ (Binary Decimal System) โดยผลิตเป็นเหรียญชุบเคลือบไส้เหล็ก (Nickel Plated Steel) ซึ่งคงทน ยากต่อการปลอม วงขอบนอกเป็นเฟืองจักรสลับเรียบ ผู้พิการทางสายตาแยกความแตกต่างได้และยังนามาใช้กับเครื่องหยอดเหรียญได้ แต่เมื่อใช้ได้ระยะหนึ่งพบว่าการที่มีขนาดและสีใกล้เคียงเหรียญบาท ทาให้ประชาชนสับสน บ้างถึงกับใช้สีเมจิกเขียนกากับราคาบนเหรียญ จึงได้ปรับปรุงให้เป็นโลหะอะลูมิเนียมบรอนซ์ สีทอง ออกใช้ตั้งแต่วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ เป็นต้นมา
10 วิธีเก็บรักษาเหรียญและธนบัตร ให้ทรงคุณค่าตราบนานเท่านาน
วิธีเก็บรักษาวิธีเก็บรักษาเหรียญและธนบัตร อย่าปล่อยให้คุณค่าของวิธีเก็บรักษาเหรียญและธนบัตร จางหายไปพร้อม ๆ กับสภาพที่เสื่อมโทรมไปตามกาลเวลา มาเก็บรักษาเหรียญและธนบัตรด้วยวิธีเหล่านี้กันค่ะ
ในช่วงนี้สถาบันการเงินต่างก็เปิดให้ประชาชนแลกธนบัตรและเหรียญรุ่นสำคัญ ที่ควรค่าแก่ความทรงจำ เพื่อนำมาเก็บสะสมเอาไว้เป็นที่ระลึก บวกกับว่าบางคนยังมีวิธีเก็บรักษาเหรียญและธนบัตรสะสมไว้อยู่แล้ว ดังนั้นกระปุกดอทคอมจึงไม่รอช้าที่จะนำเอาวิธีการเก็บรักษาวิธีเก็บรักษาเหรียญและธนบัตรพร้อมวิธีทำความสะอาดมาฝากกันค่ะ เพื่อให้วิธีเก็บรักษาเหรียญและธนบัตรเหล่านี้ยังคงสภาพดี อยู่ได้ยาวนานให้ลูกให้หลานได้ชื่นชมในอนาคต
1. รักษาความสะอาด
ก่อนอื่นต้องรักษาความสะอาดด้วยการล้างมือและทำความสะอาดบริเวณที่เก็บธนบัตรให้เรียบร้อย เพราะสิ่งสกปรกจำพวกฝุ่นควัน คราบไข เชื้อแบคทีเรีย และรวมไปถึงแมลงต่าง ๆ คือตัวการสำคัญที่ทำให้ธนบัตรเสื่อมสภาพและชำรุดเสียหาย
2. ซีลด้วยเครื่องสุญญากาศ
สำหรับคนที่ต้องการเก็บรักษาธนบัตรให้อยู่ในสภาพดี แนะนำให้หาซองพลาสติกแบบไร้สาร PVC หรือซองพลาสติกแบบ MYLAR ใส่ธนบัตร แล้วนำไปเข้าเครื่องซีลเพื่อดูดอากาศ เพื่อป้องกันไม่ให้ธนบัตรเปลี่ยนสภาพ แล้วทำการปิดปากพลาสติกด้วยความร้อน เพียงเท่านี้ธนบัตรก็จะคงอยู่ในสภาพเดิมไปได้อีกนาน
3. เก็บแยกทีละใบ
แม้จะสะสมธนบัตรไว้มากมาย แต่ก็ไม่ควรเก็บรักษาธนบัตรหลายใบไว้ในซองเดียวกัน แนะนำให้เก็บแยกทีละใบด้วยการใส่ซองเก็บธนบัตร ก่อนนำไปเก็บรวม เพื่อป้องกันไม่ให้ธนบัตรแต่ละใบสัมผัสกัน หรือถ้าจะให้ดีควรจัดระเบียบการจัดเก็บ แยกประเภทของธนบัตรตามรุ่น ชนิด เบอร์ หรือความพิเศษ เพราะจะช่วยให้ค้นหาง่าย ไม่ต้องรื้อค้นจากเกิดความเสียหายในภายหลัง
4. ใส่บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม
หากใครที่ต้องการเก็บธนบัตรให้สามารถหยิบออกมาดูได้ ควรจะหาซองพลาสติกแบบ MYLAR มาใส่ธนบัตรซองละ 1 ใบ เอาไว้ จากนั้นค่อยเก็บรวมไว้ในอัลบั้มธนบัตรหรือกล่องทึบแสงอีกที ไม่ควรใช้ซองพลาสติกทั่วไปมาเก็บ เพราะอาจจะมีสาร PVC ที่เป็นอันตรายต่อธนบัตรปะปนอยู่ และมันจะทำปฏิกิริยาจนทำให้ธนบัตรมีกลิ่นและชำรุดได้
5. ควบคุมอุณหภูมิ
นอกจากจะต้องรักษาความสะอาดบริเวณที่เก็บธนบัตรให้ดีแล้ว อุณหภูมิก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีผลต่อธนบัตรโดยตรง ดังนั้นจึงต้องเลือกสถานที่เก็บที่มีอุณหภูมิต่ำ ไม่ร้อน ไม่อับชื้น อากาศแห้ง ไร้รังสียูวีจากแสงแดดหรือหลอดไฟ อีกทั้งอากาศบริเวณนั้นต้องไม่สารเคมีปนเปื้อนโดยเด็ดขาด
6. รักษาลักษณะให้เหมือนเดิม
เมื่อได้ธนบัตรใบที่ต้องการเก็บสะสมมาอยู่ในมือแล้ว ก็ควรรักษาให้ธนบัตรอยู่ในรูปทรงเดิม ในลักษณะเหยียดตรง ไม่ควรพับ ม้วน ขยำ ประทับตรา เย็บลวด ขีดเขียนให้เกิดรอย หรือนำไปประดิษฐ์เป็นรูปทรงต่าง ๆ
7. ห้ามวางใกล้ของมีคม
อย่ามองข้ามอุปกรณ์เครื่องเขียนและสิ่งของมีคมไปโดยเด็ดขาดนะคะ เพราะเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ธนบัตรชำรุดเสียหายอย่างมาก หากเกิดการฉีกขาดขึ้นมาจะไม่สามารถกลับมาอยู่ในสภาพเดิมได้ ดังนั้นบริเวณที่เก็บธนบัตรควรปลอดสิ่งของมีคมทุกชนิด
8. ทำความสะอาดด้วยน้ำยาเฉพาะ
หากธนบัตรที่เก็บสะสมเกิดเสื่อมสภาพไป ดูเก่า และมีคราบเหลือง ๆ ปรากฏขึ้นมา แนะนำให้หาซื้อน้ำยาล้างธนบัตรที่มีสารซูเปอร์คริติคัล คาร์บอนไดออกไซด์ เพราะไม่มีสารทำลายสีหมึกและพรายน้ำ นอกจากนี้ยังช่วยกำจัดไขมัน สิ่งสกปรก และแบคทีเรียออกไป ทำให้ธนบัตรกลับมาดูใหม่อีกครั้ง แต่แนะนำให้ทดลองใช้กับธนบัตรทั่ว ๆ ไปก่อนที่จะนำมาเช็ดธนบัตรที่จะเก็บสะสม
9. เก็บเหรียญให้ปลอดภัย
ส่วนการเก็บรักษาเหรียญนั้นก็จะมีวิธีคล้ายกับการเก็บรักษาธนบัตร ได้แก่ ให้เก็บไว้ในที่สะอาด อากาศแห้ง ไม่อับชื้น ไม่มีสารพิษปะปนในอากาศ แต่ที่มากไปว่านั้นคือบริเวณที่เก็บเหรียญจะต้องควบคุมความชื้นให้เหมาะสม ด้วยการใช้ ซิลิกาเจล สารดูดซับความชื้นที่ช่วยควบคุมความชื้นสัมพัทธ์บริเวณที่เก็บเหรียญให้ต่ำกว่า 45% และยังเป็นสารที่ไม่มีไอพิษปะปนมากับอากาศอีกด้วย
10. ทำความสะอาดเหรียญ
เหรียญที่เก็บไว้นาน ๆ และเก็บอย่างไม่ถูกวิธีอาจจะเกิดการเปลี่ยนสีหรือมีคราบสกปรกเกาะติด ฉะนั้นให้ทำความสะอาดด้วยการนำไปล้างในน้ำผสมสบู่อย่างระมัดระวัง หรือถ้าเจอคราบหนักให้นำเหรียญไปล้างน้ำเปล่าแล้วป้ายยาสีฟันลงไป ใช้นิ้วถูเบา ๆ คราบก็จะหลุดออก ล้างน้ำสะอาดอีกครั้ง แล้วนำผ้าขนหนูมาซับให้แห้ง ห้ามใช้สิ่งของที่เป็นกรดล้างโดยเด็ดขาด และถ้าหากใครจะล้างเหรียญด้วยน้ำยาล้างเหรียญก็ต้องระมัดระวังกันให้ดี ๆ เพราะน้ำยานี้มีส่วนผสมของสารไซยาไนด์ที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้และอาจกัดกร่อนพื้นผิวเหรียญได้ค่ะ
เอาเป็นว่าใครที่กำลังออกตามหาธนบัตรและเหรียญอันทรงคุณค่ามาเก็บสะสมหรือมีของเก่าสะสมไว้อยู่แล้ว ก็อย่าลืมนำวิธีการเก็บรักษาที่เรานำมาฝากันในวันนี้ไปลองปรับใช้กันดูนะคะ เพื่อให้ธนบัตรและเหรียญเหล่านี้ช่วยสืบสานและบอกเล่าเรื่องราวดี ๆ ให้กับลูกหลานในอนาคตข้างหน้าได้รับรู้ค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก banknoteclub, ธนาคารแห่งประเทศไทย และ siamstamp
ธนบัตรเลขสวย แบบไหนถึงเรียกว่าสวยและมีอนาคต
นักสะสมรุ่นใหม่หลายท่านเข้ามาถามผมถึงเรื่องเลขสวยในธนบัตรว่าเขาเล่นกันอย่างไร
เลขแบบไหนจัดว่าเป็นเลขสวย เหมาะกับการสะสม และมีอนาคต
ผมขออนุญาตยกมาเขียนเพื่อคนอื่นๆได้ศึกษา ไขข้อสงสัยกัน
สำหรับผู้ที่รู้อยู่แล้วก็ถือว่าเป็นวิทยาทานนะครับเพราะในแต่ละปีจะมีนักสะสมกลุ่มเงินโบราณเพิ่มขึ้นไม่มากนักเมื่อเทียบกับกลุ่มพระ
เรามาดูกันเลยนะครับ ธนบัตรเลขสวยผมขอแบ่งออกเป็น 5 ประเภท
ดังนี้
1. เลขตอง
สำหรับนักสะสมรุ่นใหม่หลายท่านต่างเข้าใจว่า เลขตองคือ เลข ที่มี 3
ตัวติดด้านท้าย นั้นย่อมไม่ใช้ เช่น 7549111 ที่จริงแล้วในกลุ่มนักสะสมเงินโบราณให้เข้าใจตรงกันว่าเลขตองนั้นต้องมีลักษณะที่เป็นเลขชุดเดียวกัน
เช่น 111111 - 999999 เป็นต้น
สำหรับเลขตองนี้ราคาค่อนข้างสูงถึง 5-6 หลักเลยทีเดียว
ขึ้นอยู่กับสภาพและแบบ
ยิ่งเก่ายิ่งแพงที่สำคัญพบเห็นได้น้อยอยู่ในมือนักสะสมรุ่นใหญ่ซะเป็นส่วนมาก
ราคามีแต่จะเพิ่มขึ้นทุกวันตามกาลเวลาจึงเป็นที่หมายตาของนักสะสมทุกคนได้เก็บไว้สะสมกัน
2. เลขเรียงลำดับ
สำหรับเลขเรียงนั้นก็สังเกตไม่ยากเย็นอะไร ก็คือ
เลขเรียงระดับการนับนั่นเองซึ่งจะมีทั้งสองแบบคือเรียงไปข้างหน้าและกลับหลัง เช่น 1234567
หรือ 7654321 เป็นต้น
นับเป็นธนบัตรที่นักสะสมตามหาไม่น้อยกว่าเลขตองเลยทีเดียว
ส่วนราคานั้นไม่แรงเท่ากับเลขตองแต่ก็หาได้ไม่ง่ายเหมือนกัน
3. เลขกระจก
เลขกระจก คือ
กลุ่มชุดตัวเลขที่มีการเรียงตัวเข้าหาตัวเลขกลางและสะท้อนกลับเป็นเลขชุดเดียวกัน
เหมือนดั่งเลขสะท้อนในกระจกนั้นเอง เช่น 1234321 หรือ 9929299
เป็นต้น
4. เลขเก้าหน้าเก้าหลัง
เก้าหน้าเก้าหลังหรือเลขมงคล เช่น 9444009 เป็นต้น
นับว่าเป็นชุดเลขที่คนไทยทุกคนต่างมีความเชื่อกันว่าเลขเก้าหน้าเก้าหลังเป็นเลขมงคลและจะนำความสุขสำเร็จมาให้
บางคนเก็บเป็นขวัญถุง บางคนเก็บเพื่อการสะสม
ซึ่งก็มีตามต้องการในกลุ่มนักสะสมไม่น้อย ส่วนราคานั้นไม่แรงเท่า 3 อันดับแรกแต่มีราคามากกว่ามูลค่าหน้าธนบัตรแน่นอน
5. เลขหลักหน่วย
- หลักล้าน
สำหรับเลขหลักหน่อย หลักสิบ หลักพัน หลักหมื่น หลักแสนและหลักล้าน เช่น 0000001,0000010,0000100,0001000,0010000,0100000,1000000
เป็นต้นนั้น ก็น่าเก็บสะสมไม่น้อยไปกว่าชุดเลขข้างต้นเลย
ด้วยเหตุที่ว่าพบเห็นไม่บ่อยนัก
ส่วนราคานั้นก็ไต่อันดับขึ้นไปได้เรื่อยๆไม่แรงเท่าไหร่แต่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นทุกปีแน่นอน
ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก
http://ngeonboran.blogspot.com/2015/09/blog-post.html
เหรียญคาสิโนเมืองไทย สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
เหรียญกาสิโนที่เห็นอยู่นี้ นับเป็นเหรียญกาสิโนเพียงชุดเดียวของไทยที่ผลิตขึ้นอย่างถูกต้องตามกฏหมาย เป็นผลจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ยืดเยื้อยาวนาน ทำให้เกิดความเสียหายมากมาย ผู้เสียชีวิตจากสงครามครั้งนี้ว่ากันว่าน่าจะประมาณ 60-70 ล้านคน ทำให้เกิดภาวะข้าวยากหมากเเพง ภาวะเงินเฟ้อ ทุกข์เข็ญเกิดขึ้นทุกหย่อมหญ้า
รัฐบาลไทยต้องชดใช้ค่าปฏิกรสงครามจำนวนหนึ่ง
พร้อมกับข้าวสารจำนวนมากให้เเก่ฝ่ายสัมพันธมิตร
เเละเกือบจะเป็นผู้พ่ายเเพ้สงครามพร้อมกับฝ่ายอักษะ
เเต่ได้กระบวนการเสรีไทยมาช่วยไว้ เลยทำให้รอดพ้นจากการต้องเป็นฝ่ายพ่ายเเพ้สงคราม
เเต่รายได้ของรัฐบาลก็ลดลงมากเพราะผลจากสงคราม
รัฐบาลจึงคิดวิธีหารายได้เข้ารัฐ
โดยการเปิดบ่อนกาสิโนเป็นครั้งเเรกในเมืองไทยเมื่อวันเสาร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 ในรัฐบาลของนายควง อภัยวงศ์
มีการผลิตชิบขึ้นจำนวนหนึ่งมี 4 ราคาด้วยกันคือ 1,10,20
เเละ 100 บาท ด้านหน้าเป็นรูปนกวายุภักษ์
ด้านหลังระบุราคาไว้ ที่ขอบเหรียญมีการตีตราระบุหมายเลขไว้
ชนิดราคา 100 บาท ตอกหมายเลข 3 หลัก (พบจำนวนไม่เกิน 500 เหรียญ)
ชนิดราคา 20 บาท ตอกหมายเลข 4 หลัก
ชนิดราคา 10 บาท ตอกหมายเลข 4 หลัก
ชนิดราคา 1 บาท ตอกหมายเลข 5 หลัก
เหรียญดังกล่าวทำจากนิกเกิล ผลิตจากประเทศอังกฤษ เปิดบ่อนคาสิโนอยู่ประมาณ
4 เดือน ราษฎรเล่นกันจนหมดเนื้อหมดตัว
ตามข่าวว่ามีคนเล่นกันจนหมดตัวก็มาก ที่เสียใจถึงฆ่าตัวตายก็มี
รัฐบาลจึงสั่งปิดบ่อนกาสิโนเมื่อวันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.
2488 ทำให้เหลือเพียงชิบหรือเหรียญกาสิโนไว้ให้ดูต่างหน้า
ว่าครั้งหนึ่งเราก็เคยมีบ่อนกาสิโนถูกกฎหมายในเมืองไทย
ปัจจุบันเหรียญกาสิโนครบชุดหาค่อนข้างยาก
ส่วนมากที่พบจะเป็นชนิดราคา 1 บาทซึ่งผลิตจำนวนมากหลายหมื่นเหรียญ
เเต่ชนิด 100 บาทนั้นถึงเเม้จะมีเลข 3 หลัก
เเต่ไม่เคยพบเหรียญที่มีเลขเกิน 500 เลย
ดังนั้นเหรียญชุดนี้จึงน่าจะมีไม่เกิน 500 ชุด
ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก
http://ngeonboran.blogspot.com/2015/06/2488.html
เหรียญกษาปณ์ สุดยอดหายาก10 อันดับรัชกาลที่ 9
เหรียญกษาปณ์ สุดยอดหายาก10อันดับรัชกาลที่9 รับซื้อเหรียญเก่า ราคาสูง เกิดจากกระแสที่มีนักสะสมประกาศต้องการรับซื้อ
เหรียญ10บาทปี2533 ในราคาสูงถึง100,000บาท
ทำให้เกิดการตื่นตัวของนักสะสมทั้งมืออาชีพและผู้สะสมแบบมือสมัครเล่นให้ความสนใจเป็นจำนวนมากว่า
เหรียญหายากราคาแพง มีการจัดสร้างขึ้นแบบไหนบ้าง ลองดูครับไม่แน่บางท่านอาจจะมีอยู่ก็ได้สำหรับ
เหรียญเก่า 10 อันดับเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนหายากสมัยรัชกาลที่
๙
อันดับ 1 เหรียญกษาปณ์นิกเกิลเคลือบไส้ทองแดง เหรียญ
5 บาท พ.ศ.2525 ด้านหน้าพระเศียรเล็ก
อันดับ 2 เหรียญกษาปณ์สองสีราคา เหรียญ10 บาท ปี2533 ผลิต 100 เหรียญ
อันดับ 3 เหรียญกษาปณ์อลูมิเนียมบรอนซ์ราคา เหรียญ 25 สต.พ.ศ.2500 ด้านหลังตัวหนังสือบาง
อันดับ 4 เหรียญกษาปณ์อลูมิเนียมบรอนซ์ราคา เหรียญ10 สต. พ.ศ.2500 ด้านหลังสิบสตางค์หางยาว
อันดับ 5 เหรียญกษาปณ์นิกเกิลราคา เหรียญ1 บาท พ.ศ.2525 ด้านหน้าพระเศียรเล็ก
อันดับ 6 เหรียญกษาปณ์อลูมิเนียมบรอนซ์ราคา เหรียญ 50 สต. พ.ศ.2493 ด้านหลังตัวหนังสือหนา
อันดับ 7 เหรียญกษาปณ์อลูมิเนียมบรอนซ์ราคา เหรียญ 50 สต. พ.ศ.2530 ผลิต 1,000 เหรียญ
อันดับ 8 เหรียญกษาปณ์นิกเกิลราคา เหรียญ1 บาท ปี 2529 ด้านหลังช่อฟ้าหางยาว
อันดับ 9 เหรียญกษาปณ์อลูมิเนียมราคา เหรียญ10 สต. ปีพ.ศ.2530 ผลิต 5,000 เหรียญ
อันดับ 10.1 เหรียญกษาปณ์อลูมิเนียมราคา เหรียญ 5 สต. ปี พ.ศ. 2530 ผลิต10,000 เหรียญ
อันดับ 10.2 เหรียญกษาปณ์อลูมิเนียมบรอนซ์ราคา เหรียญ25
สต. พ.ศ.2542 ผลิต10,000 เหรียญ
อันดับ 10.3 เหรียญกษาปณ์อลูมิเนียมบรอนซ์ราคา เหรียญ 25
สต. พ.ศ.2544 ผลิต10,000 เหรียญ
ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก
คุณอรรณพ แก้วปทุมทิพย์
รวมธนบัตรที่ระลึกในสมัยรัชกาลที่ 9
รวบรวมภาพธนบัตรที่ระลึกแบบต่าง ๆ ที่ผลิตขึ้นเพื่อจ่ายแลกในโอกาสพิเศษในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่คุณอาจไม่เคยเห็น
นอกเหนือจากธนบัตรที่จัดพิมพ์เพื่อใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจตามปกติแล้ว ธนาคารแห่งประเทศไทยยังได้เคยจัดพิมพ์ธนบัตรที่ระลึกเพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสมหามงคลต่าง ๆ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รวม 18 ครั้ง ซึ่งเฟซบุ๊ก Bank of Thailand ได้รวบรวมภาพของธนบัตรที่ระลึก ที่ได้จัดพิมพ์ทั้ง 18 ครั้ง มาเผยแพร่ให้คนไทยและนักสะสมธนบัตรได้ชื่นชม
ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2530
"บัตรธนาคารเนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมพรรษาหกสิบบริบูรณ์ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530" ชนิดราคา 60 บาท
"บัตรธนาคารเนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมพรรษาหกสิบบริบูรณ์ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530" ชนิดราคา 60 บาท
ภาพประธานด้านหน้า
เป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ทรงเครื่องแบบจอมทัพ ทรงฉลองพระองค์ครุย ประทับเหนือพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์
ภาพประธานด้านหลัง เป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประทับท่ามกลางพสกนิกร
ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2533
"ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในโอกาสที่ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเจริญพระชนมายุ 90 พรรษา วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2533"
ภาพประธานด้านหลัง เป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประทับท่ามกลางพสกนิกร
ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2533
"ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในโอกาสที่ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเจริญพระชนมายุ 90 พรรษา วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2533"
ธนบัตรทั้งสองชนิดราคามีลักษณะและขนาดเช่นเดียวกับธนบัตรชนิดราคา 50
บาท และ 500 บาท แบบ 13 ต่างกันที่ลายน้ำเป็นพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
คู่กับเลขไทย ๙๐ ซึ่งมีความโปร่งแสงเป็นพิเศษ ใต้ลายน้ำมีคำว่า
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ๙๐ พรรษา
ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2535
"ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ"
มีลักษณะและขนาดเช่นเดียวกับธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาท แบบ 14 ต่างกันที่ลายน้ำเป็นพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ใต้ลายน้ำมีคำว่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ วันที่ ๑๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๕
ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2535
"ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ"
มีลักษณะและขนาดเช่นเดียวกับธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาท แบบ 14 ต่างกันที่ลายน้ำเป็นพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ใต้ลายน้ำมีคำว่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ วันที่ ๑๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๕
ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2538
มีลักษณะและขนาดเช่นเดียวกับธนบัตรชนิดราคา 10 บาท
แบบ 12 ต่างกันที่บริเวณตอนกลางของขอบล่างด้านหน้าธนบัตรมีคำว่า
๑๒๐ ปี กระทรวงการคลัง วันที่ ๑๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๓๘
ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2539
มีทั้งหมด 3 แบบ คือ
1. ธนบัตรชนิดราคา
500 บาท
มีลักษณะและขนาดเช่นเดียวกับธนบัตรชนิดราคา 500 บาท
แบบ 14 ต่างกันที่มีตราสัญลักษณ์งานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50
ปี แทน พระราชลัญจกรประจำพระองค์ รัชกาลที่ 9
2. ธนบัตรชนิดราคา
50 บาท
ธนบัตรที่ระลึกแบบพิเศษ มีลักษณะและขนาดเช่นเดียวกับธนบัตรชนิดราคา 50
บาท แบบ 13 ต่างกันที่พิมพ์บนวัสดุโพลิเมอร์
และมีตราสัญลักษณ์งานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี
แทนลายกระจัง
3. ธนบัตรที่ระลึกแบบพิเศษ
ชนิดราคา 500 บาท
พิมพ์บนวัสดุโพลิเมอร์และผนึกฟอยล์สีทองพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ไว้มุมขวาบนของธนบัตร
ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2542
"ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา
6 รอบ 5 ธันวาคม 2542"
มีลักษณะและขนาดเช่นเดียวกับธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาท แบบ 15 ต่างกันที่มีตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 แทนพระราชลัญจกรประจำพระองค์ รัชกาลที่ 9
มีลักษณะและขนาดเช่นเดียวกับธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาท แบบ 15 ต่างกันที่มีตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 แทนพระราชลัญจกรประจำพระองค์ รัชกาลที่ 9
ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2543
"ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในอภิลักขิตสมัยมหามงคลวันราชาภิเษกสมรส
และวันบรมราชาภิเษกครบ 50 ปี" มีชนิดราคา 50 บาท และ 500,000 บาท
ภาพประธานด้านหน้า เป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช คู่กับพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตราอักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. คู่กับตราอักษรพระนามาภิไธย ส.ก. และภาพพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
ภาพประธานด้านหน้า เป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช คู่กับพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตราอักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. คู่กับตราอักษรพระนามาภิไธย ส.ก. และภาพพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2545
เป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
คู่กับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์ชุดสากล
มีลักษณะเช่นเดียวกับธนบัตรแบบที่ 1 ชนิดราคา 100 บาท
ครั้งที่ 9 พ.ศ. 2547
"ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 12 สิงหาคม 2547" ชนิดราคา
100 บาท
ภาพประธานด้านหน้า
เป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศจอมทัพ
ฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์
และพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ในฉลองพระองค์ชุดไทยศิวาลัย
ภาพประธานด้านหลัง เป็นพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ ในฉลองพระองค์ชุดไทยจักรี
ครั้งที่ 10 พ.ศ. 2549
"ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เนื่องในโอกาสการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
พุทธศักราช 2549" ชนิดราคา 60 บาท
ภาพประธานด้านหน้า เป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ประทับเหนือพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ ณ พระแท่นนพปฎลมหาเศวตฉัตร ณ
พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย และทอดเครื่องราชูปโภคบรมราชอิสริยยศ
ภาพประธานด้านหลัง เป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ขณะทรงประกอบพระราชกรณียกิจ และภาพเขื่อนขุนด่านปราการชล จังหวัดนครนายก
ครั้งที่ 11 พ.ศ. 2550
เบื้องซ้ายมีพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นภาพประธานด้านหน้า
ส่วนตอนกลางของธนบัตรชนิดราคา 1 บาท
มีภาพการเสด็จออกสีหบัญชร ณ พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท
เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในปี 2493
ตอนกลางของชนิดราคา 5 บาท มีภาพการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร
โดยกระบวนพยุหยาตราสถลมารค
ในพระราชพิธีมหามงคลเนื่องในวโรกาสที่เจริญพระชนมพรรษาครบ 3 รอบพระนักษัตร
ในปี 2506 และตอนกลางของชนิดราคา 10 บาท
มีภาพการเสด็จฯ ออกมหาสมาคม ในงานพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ในปี 2549 เรียงตามลำดับ
ภาพประธานด้านหลัง
เป็นภาพลำดับเรื่องราวอันเกี่ยวเนื่องกับพระราชประวัติ
และพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ตั้งแต่เมื่อทรงพระเยาว์จนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ภายในโครงตัวเลขไทย
"๙"
ครั้งที่ 12 พ.ศ. 2553
"ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในอภิลักขิตสมัยมหามงคลวันราชาภิเษกสมรส
และวันบรมราชาภิเษกครบ 60 ปี พุทธศักราช 2553" ชนิดราคา 100 บาท
ภาพประธานด้านหน้า
เป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเครื่องแบบจอมทัพ
ภาพประธานด้านหลัง
เชิญพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ขณะทรงโบกพระหัตถ์ และพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
ในงานพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ณ
พระที่นั่งอนันตสมาคม พุทธศักราช 2549 ตอนล่างของธนบัตรมีข้อความ
"ราชาภิเษกสมรสครบ 60 ปี 28 เมษายน
2553" และ "บรมราชาภิเษกครบ 60 ปี 5 พฤษภาคม 2553"
ครั้งที่ 13 พ.ศ. 2554
"ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554" ชนิดราคา 100 บาท
ภาพประธานด้านหน้า เป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พิมพ์บนลายพื้นสีเหลือบทอง เป็นภาพประธาน มีอักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร.
ในฟอยล์สีเงิน
ตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 พระครุฑพ่าห์ และลายไทย เป็นภาพประกอบ
ด้านหลัง
เป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรโครงการอ่างเก็บน้ำแม่เสริมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดเชียงใหม่ เป็นภาพประธาน และมีภาพพระราชกรณียกิจ ได้แก่ พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุข
พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ทรงปลูกหญ้าแฝก
แสดงถึงพระราชกรณียกิจด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรดิน ภาพเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน
จังหวัดพิษณุโลก และภาพกังหันน้ำชัยพัฒนา แสดงถึงพระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาและจัดการทรัพยากรน้ำ
ภาพที่แสดงถึงพระอัจฉริยภาพ ได้แก่ พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ทรงเป่าแซกโซโฟน
แสดงถึงพระอัจฉริยภาพด้านดนตรี
ภาพเครื่องบินทำฝนหลวงด้วยเทคนิคโจมตีเมฆฝนแบบซูเปอร์แซนด์วิช
แสดงถึงพระอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นภาพประกอบ
ครั้งที่ 14 พ.ศ. 2555
"ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร
เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28
กรกฎาคม 2555" ชนิดราคา 100 บาท
ภาพประธานด้านหน้า เป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ทรงเครื่องแบบจอมทัพ
ภาพประธานด้านหลัง เป็นพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ
สยามมกุฎราชกุมาร
ครั้งที่ 15 พ.ศ. 2555
"ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 12 สิงหาคม 2555" ชนิดราคา
80 บาท
ภาพประธานด้านหน้า เป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช คู่กับพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีลายน้ำอักษรพระนามาภิไธย "ส.ก." ภายใต้พระมหามงกุฎ โดยอักษร "ก" มีความโปร่งแสงเป็นพิเศษ มองเห็นได้ชัดเจนทั้งสองด้านเมื่อยกธนบัตรขึ้นส่องดูกับแสงสว่าง
ด้านหลัง มีพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
เป็นภาพประธาน โดยมีภาพพระราชกรณียกิจด้านต่าง ๆ เป็นภาพประกอบ
ในเนื้อกระดาษฝังแถบสีฟ้าซ่อนไว้ตามด้านกว้างของธนบัตร
โดยมีบางส่วนปรากฏให้เห็นเป็นระยะที่ด้านหลังธนบัตร ภายในแถบสีฟ้ามีตัวเลขอารบิก
"80" ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นรูปดอกกุหลาบเมื่อพลิกธนบัตรไปมา
ครั้งที่ 16 พ.ศ. 2558
"ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558" ชนิดราคา 100 บาท
ภาพประธานด้านหน้า
เป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ในฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์
ด้านหลัง มีพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เป็นภาพประธาน และเชิญพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี เมื่อครั้งโดยเสด็จพระราชดำเนินพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ไปยังสถานีพัฒนาที่ดิน เขต 6 จังหวัดเชียงใหม่ มีภาพตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติฯ
ภาพดอกจำปีสิรินธรและดอกม่วงเทพรัตน์ เป็นภาพประกอบ
ครั้งที่ 17 พ.ศ. 2559
"ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559" ชนิดราคา 70 บาท
ภาพประธานด้านหน้า
เป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ในฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศจอมทัพ ฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์
ทรงเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์และพระสังวาลปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ
ภาพประธานด้านหลัง
เป็นพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงพระแสงขรรค์ชัยศรี
ครั้งที่ 18 พ.ศ. 2559
"ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิงหาคม 2559" ชนิดราคา
500 บาท
ภาพประธานด้านหน้า เป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์
ด้านหลัง
มีพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เป็นภาพประธาน
โดยมีพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถ พร้อมพระราชโอรสและพระราชธิดาเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์
พระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ขณะทอดพระเนตรผลงานศิลปาชีพ
ตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติฯ ภาพโขนพระราชทาน ชุด จองถนน ภาพกระเป๋าย่านลิเภาซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพ
และภาพพรรณไม้ในพระนามาภิไธย คัทลียาควีนสิริกิติ์และกุหลาบควีนสิริกิติ์
ครั้งที่ 19 พ.ศ. 2560
ในช่วงปี 2560 ธนาคารแห่งประเทศไทย ยังได้จัดพิมพ์ธนบัตรที่ระลึกชุดพิเศษ "ธนบัตรที่ระลึก ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ แห่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" ขึ้นมาอีก 1 ชุด มีทั้งหมด 5 ชนิดราคา คือ 20 บาท, 50 บาท, 100 บาท, 500 บาท และ 1,000 บาท ถือเป็นธนบัตรชุดสุดท้ายของในหลวง รัชกาลที่ 9
***หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดเมื่อ วันที่ 26 ตุลาคม 2560
ครั้งที่ 19 พ.ศ. 2560
ในช่วงปี 2560 ธนาคารแห่งประเทศไทย ยังได้จัดพิมพ์ธนบัตรที่ระลึกชุดพิเศษ "ธนบัตรที่ระลึก ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ แห่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" ขึ้นมาอีก 1 ชุด มีทั้งหมด 5 ชนิดราคา คือ 20 บาท, 50 บาท, 100 บาท, 500 บาท และ 1,000 บาท ถือเป็นธนบัตรชุดสุดท้ายของในหลวง รัชกาลที่ 9
***หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดเมื่อ วันที่ 26 ตุลาคม 2560
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://money.kapook.com/view159158.html
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)