รูปแบบเหรียญเสมา ขอบเรียบ ด้านบนมีห่วง ตรงกลางเหรียญเป็นพระบรมรูปครึ่งพระองค์ ผินพระพักตร์เบื้องซ้าย ทรงเครื่องทหารมหาดเล็กเต็มยศ ใต้พระบรมรูปเป็นพระปรมาภิไธย "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" ริมขอบด้านซ้ายมีอักษรภาษาอังกฤษ Royal Mint
ด้านหลัง ตรงกลางเป็นตราพระบรมราชจักรีวงศ์ เบื้องบนมีข้อความ "อนุสรณ์มหาราช" เบื้องล่างโค้งตามตราพระบรมราชจักรีวงศ์ เป็นข้อความว่า "เฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๓ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๐๖"
เหรียญอนุสรณ์มหาราช เป็นเหรียญที่ระลึกในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมายุครบ 3 รอบ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคมปี2506 ผ่านพิธีการปลุกเสกอย่างยิ่งใหญ่ ณ อุโบสถวัดราชบพิธ ถึง 2 วาระด้วยกัน
ครั้งแรกวันที่ 29-30 พ.ย.2506
รายนามพระคณาจารย์ที่ได้รับอาราธนามานั่งปรกบริกรรม วันที่ 29-30พฤศจิกายน 2506ณ พระอุโบสถวัดราชบพิธ
(พิธีครั้งที่ 1)
1. หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา
2. หลวงพ่อพระครูโพธิสารประสาธน์ วัดโพธิสัมพันธ์ บางละมุง ชลบุรี
3. หลวงพ่อพระวรพจรน์ปัญญาจารย์ วัดอรัญญิกาวาส ชลบุรี
4. หลวงพ่อเมือง วัดท่าแหน แม่ทะ ลำปาง
5. หลวงพ่อพระราชหระสิทธิคุณ วัดราชธานี สุโขทัย
6. หลวงพ่อเงิน (พระราชธรรมาภรณ์ )วัดดอนยายหอม นครปฐม
7. หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม นครปฐม
8. พ่อท่านคล้าย วัดสวนขวัญ ฉวาง นครศรีธรรมราช
9. พระครูวิสัยโสภณ (อาจารย์ทิม) วัดช้างไห้ ปัตตานี
พิธีครั้งที่ 2. วันที่ 5-6-7 เมษายน 2507
รายนามพระคณาจารย์ที่ปลุกเสก วันที่ 5 เมษายน 2507
1. พระสุเมธมุนี เจ้าคณะวัดบางหลวง ปทุมธานี
2. พระสุนทรศีลสมาจาร (หลวงพ่อผล) วัดหนัง ธนบุรี
3. พระครูปลัดบุญรอด วัดประดู่พัฒนาราม นครศรีธรรมราช
4. หลวงพ่อทบ วัดสว่างอรุณ ชนแดน เพชรบูรณ์
5. พระครูนนทกิจวิมล ( หลวงพ่อชื่น) วัดตำหนักเหนือ นนทบุรี
6. หลวงพ่อบัว วัดป่าบ้านตาด อุดรธานี
7. พระครูพุทธมนต์วราจารย์ (พระปลัดสุพจน์) วัดสุทัศน์ พระนคร
8. พระครูบวรธรรมกิจ (หลวงปู่เทียน) วัดโบสถ์เชียงราก ปทุมธานี
9. หลวงพ่อหอม วัดขากหมาก ระยอง
รายนามพระคณาจารย์ที่ปลุกเสก วันที่ 6 เมษายน 2507
1. พระครูพิทักษ์วิการกิจ (หลวงพ่อสา) วัดราชนัดดา พระนคร
2. พระครูสถาพรพุทธมนต์(หลวงพ่อสำเนียง) วัดเวฬุวนาราม บางเลน นครปฐม
3. พระครูธรรมิตรนุรักษ์ วัดเขาหลัก ท่าศาลา นครศรีธรรมราช
4. พระครูรักขิตวันมุนี (หลวงพ่อถีร์) วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี
5. พระเทพสังวรวิมล (หลวงพ่อเจียง) วัดเจริญสุขาราม สมุทรสงคราม
6. หลวงพ่อสำเภา วัดหงส์รัตนาราม บางกอกใหญ่ ธนบุรี
7. พระครูบาวัง วัดบ้านเด่น จ.ตาก
8. พระมุจรินทร์โมลี (หลวงปู่ดำ) วัดมุจรินทร์ หนองจิก ปัตตานี
รายนามพระคณาจารย์ที่ปลุกเสก วันที่ 7 เมษายน 2507
1. หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก บางไทร อยุธยา
2. พระครูโพธิสารประสาธน์ (อาจารย์บุญมี) วัดโพธิสัมพันธ์ ชลบุรี
3. พระวราพจน์ปัญญาจารย์ (หลวงพ่อวัดป่า) วัดอรัญญิกาวาส ชลบุรี
4. หลวงพ่อเมือง วัดท่าแหน แม่ทะ ลำปาง
5. พระราชประสิทธิคุณ (หลวงพ่อทิม) วัดราชธานี สุโขทัย
6. พระราชธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อเงิน) วัดดอนยายหอม นครปฐม
7. หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม นครปฐม
8. พระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อเมี้ยน) วัดพระเชตุพน พระนคร
9. พระครูวิสัยโสภณ (อาจารย์ทิม) วัดช้างให้ โคกโพธิ์ ปัตตานี
การเริ่มพิธีนั้น พระเจริญคาถาภารวาณจะ ตั้งแต่เวลา 15.00น.ของแต่ละวัน พระคณาจารย์ทุกรูปจะผลัดเปลี่ยนกันนั่งปรกบริกรรมกันตลอดเวลา จนตลอดรุ่งของทุกวัน จนถึงเช้าตรู่วันที่ 8เมษายน 2507เวลา 6.00น. พระอาจารย์ที่นั่งปรกวันที่สามทั้งหมดทุกรูปประชุมพร้อมกันปลุกเสกเงียบเป็น เวลา 30นาที พอครบเวลาตามที่กำหนด เจ้าหน้าที่ลั่นฆ้องชัย พราหมณ์ เป่าสังข์แกว่งบัณเฑาะว์ ปี่พาทย์ทำเพลง 3ลา พระคณาจารย์ทุกรูปประพรมน้ำพุทธมนต์เหรียญเสมาทั้งหมดที่เข้าพิธีเสร็จแล้ว เจิม พระพิธีธรรมเจริญคาถาดับเทียนชัย สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ดับเทียนชัย พราหมณ์เริ่มพิธีเบิกแว่นเวียนเทียนสมโภชเป็นเสร็จการพิธี
จัดสร้างโดย กระทรวงมหาดไทย เพื่อหาเงินทุนจัดตั้ง "มูลนิธิมหาราช" และได้ประกอบพิธีรัชมังคลาภิเษก ณ วัดราชบพิตรสถิตมหาสีมาราม ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน ถึง 3 ธันวาคม พ.ศ. 2506
ข้อมูลเหรียญ
เหรียญเสมาทองคำ 3 รอบมหาราชซึ่งผลิตขึ้นในปี พ.ศ. 2506 เป็นเหรียญที่ผลิตขึ้นเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุครบ 36 พรรษา หรือ 3 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม 2506 โดยเหรียญนี้ผลิตโดยเนื้อทองคำ รูปทรงเหรียญเป็นรูปเสมา หรือที่คุ้นหูกันชื่อเหรียญอาร์ม มีด้วยกัน 3 บล๊อค คือ 1.บล๊อคแว่นแตก (เป็นบล๊อคที่หายาก) 2.บล๊อค ช. 2 เส้น และอีกบล๊อคก็จะเป็นบล๊อคปกติทั่วไป น้ำหนักเหรียญจะอยู่ที่ 16-17 กรัม คาดเคลื่อนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ วัดราชบพิธ
ราคาจองซื้อสมัยนั้น
1. ผู้สมทบทุน 1 บาท ได้รับเสมาเนื้ออัลปาก้า 1 เสมา
2. ผู้สมทบทุน 5 บาท ได้รับเสมาเนื้อเงิน 1 เสมา
3. ผู้สมทบทุน 1,000 บาท ได้รับเสมาทองคำ 1 เสมา
4. ผู้สมทบทุนถึง 10,000 บาท นอกจากจะได้รับเสมาทองคำ 10 เสมาแล้ว มูลนิธิฯ จะได้ทำการจารึกชื่อผู้บริจาคไว้ ณ สถานอุปการะเยาวชนของมูลนิธิมหาราช
วิธีสังเกตุเหรียญ
ด้านหน้า
1. รูเข้าห่วงด้านหน้าจะอยู่ เยื้องๆ กับด้านหลัง
2. ผิวเหรียญ ดูจะเป็นเนื้อทองเก่า จะออกเป็นเสี้ยนๆ เล็กๆ
3. สระ อู กับ อุ ตรงคำว่า "ภูมิ กับคำว่า ดุล" จะชิดกับขอบด้านล่าง
4. สังเกตุ "ร" ให้ดีๆ หาง "ร" มันจะยกสูงกว่าหัว "ม"
5. มีคำว่า ROYAL MINT อยู่
ด้านหลัง
1. รูเข้าห่วงหลังเมื่อกลับเหรียญแล้วจะ เยื้องกับด้านหน้า
2. "ม" จะดูห่างออกมากลุ่มตัวอักษร
3. ให้สังเกตุวงกลมเล็กๆ จะอยู่ในตำแหน่งที่เยื้องกัน จะไม่ตรงกัน
4. สระ อะ จะใหญ่ เล็ก ไม่เท่ากัน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
www.thaicoin.net ขอขอบคุณเป็นอย่างสูง
และ http://thaigoldcoin.com