วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

เหรียญพระมหาชนกชุดทองคำเล็ก (ทองคำ นาค เงิน)

เหรียญพระมหาชนกชุดทองคำเล็ก (ทองคำ นาค เงิน) มีหนังสือปกแข็งในชุด





        เหรียญพระมหาชนกเป็นเหรียญที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขณะกำลังทรงงาน และด้านหลังเป็นรูปพระมหาชนกกำลังว่ายน้ำอยู่ในมหาสมุทร เหรียญพระมหาชนกจะแบ่งออกเป็นจำนวนพิมพ์ ดังนี้

        1. เหรียญพระมหาชนกชุดใหญ่ จะแบ่งออกเป็น เนื้อทองคำ หนัก 34 กรัม เนื้อเงินหนัก 23 กรัม เนื้อนากหนัก 24 กรัม และหนังสือพระมหาชนกเล่มสีน้ำเงินปกแข็ง
        2. เหรียญพระมหาชนกเนื้อเงิน พิมพ์ใหญ่ จะแบ่งออกเป็น เนื้อเงินใหญ่ กับหนังสือพระมหาชนกเล่มสีแดงปกแข็ง
        3. เหรียญพระมหาชนกชุดเล็ก จะแบ่งออกเป็น เนื้อทองคำ หนัก 10 กรัม เนื้อเงิน หนัก 7 กรัม เนื้อนากหนัก 7 กรัม และหนังสือพระมหาชนกเล่มเล็กปกแข็ง(กล่องสีน้ำเงิน)
        4. เหรียญพระมหาชนกเนื้อเงิน พิมพ์เล็ก จะแบ่งออกเป็น เนื้อเงินเล็ก กับหนักสือพระมหาชนกเล่มเล็กปกอ่อน(กล่องสีแดง)
ปีที่ผลิตจะเป็นปี 2539

          สำหรับเหรียญนั้น  ด้านหนึ่งเป็นพระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระอิริยาบถที่มีหยาดพระเสโทที่พระนาสิก  เขียนข้อความ "วิริยะ  PERSERVERANCE"  และอักษาเทวนาครี  อีกด้านหนึ่ง เป็นภาพพระมหาชนกในมหาสมุทร ขณะทรงสนทนาธรรมกับนางมณีเมขลา ซึ่งปั้นจากต้นแบบภาพฝีพระหัตถ์สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์

           เหรียญเหล่านี้ได้ผ่านพิธีชัยมังคลาภิเษกที่วัดบวรนิเวศวิหาร โดยมีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเป็นประธานนั่งปรก พร้อมด้วยพระคณาจารย์อีกหลายรูป อาทิ หลวงตามหาบัว ญาณสังปันโน, หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ แห่งวัดบ้านไร่ หลวงพ่อเปิ่นวัดบางพระ, หลวงพ่อแย้ม วัดตะเคียน

           ในพิธีดังกล่าว สมเด็จพระสังฆราชตรัสว่า "ไทยเราในขณะนี้แม้เปรียบกับพระมหาชนก ย่อมมีอันตรายเบากว่ามากมายนัก วิกฤตก็แตกต่างกัน แต่สามารถบำเพ็ญวิริยบารมีให้เกิดผลสำเร็จอย่างวิเศษยิ่งได้เช่นเดียวกัน ขอให้ตั้งใจแผ่ความปรารถนาดีไปให้ทั่วถึงเพื่อนร่วมทุกข์ทั่วหน้าให้สามารถคิดถึงอนุภาพความเพียร คือวิริยบารมี แล้วทุ่มกำลังกายกำลังใจ ให้สามารถประคับประคองประเทศชาติให้พ้นวิกฤตการณ์ขณะนี้ให้ได้และโดยเร็ววิริยบารมีสำคัญ และพลังจิตสำคัญและสำคัญสำหรับนำมา ประคองวิริยบารมีให้เกิดผลเต็มที่ด้วย นั่นคือให้มีกำลังใจเข้มแข็งเต็มที่ ที่จะพยายามทำแต่ความดี วิริยะในการทำดีเท่านั้นที่จะถูกที่จะให้ พ้นทุกข์ทั้งหลายได้ สมเด็จพระบรมศาสดาทรงกล่าวไว้ว่า โลกถูกจิตนำไป ถูกจิตชักไป สัตว์ทั้งปวงไปสู่อำนาจแห่งจิตอย่างเดียว เพราะฉะนั้นพึงตั้งเพียรทำใจให้ดี ให้มั่นคงในการดีทั้งปวง ให้พ้นการไม่ดีทั้งปวงงานมงคลนี้จะสำเร็จด้วยดี เกิดคุณประโยชน์แก่ ผู้คนที่กำลังทุกข์ร้อนทั้งปวง" ก่อนที่จะอ่านเนื้อหาในพระราชนิพนธ์ "พระมหาชนก" มีพระราชปรารภให้เห็นถึงที่มาว่า "เมื่อ พ.ศ. 2520 พระองศ์ทรงสดับพระธรรมเทศนาของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธัมมสาโร มหาเถร) วัดราชผาติการาม เรื่องพระมหาชนก เสด็จทอดพระเนตรพระราชอุทยาน ในกรุงมิถิลา เรื่องมีใจความว่า ที่ทางเข้าสวนหลวงมีต้นมะม่วงสองต้น ต้นหนึ่งมีผล อีกต้นหนึ่ง ไม่มีผล ทรงลิ้มรสมะม่วงอันโอชาแล้วเสด็จเยี่ยมอุทยาน เมื่อเสด็จกลับออกจากสวนหลวง ทอดพระเนตรเห็นมะม่วงที่มีผลรสดี ถูกข้าราชบริพารดึงทึ้งจนโค่นลง ส่วนต้นที่ไม่มีลูกก็ยังคงตั้ง อยู่ตระหง่าน แสดงว่าสิ่งใดดี มีคุณภาพ จะเป็นเป้าหมายของการยื้อแย่งและจะเป็นอันตรายใน ท่ามกลางผู้ที่ขาดปัญญา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัย จึงทรงค้นเรื่องพระมหาชนกในพระไตรปิฎก (พระสุตตันตปิฏกขุททกนิกาย ชาดก เล่มที่ 4 ภาคที่ 2) และทรงแปลเป็นภาษาอังกฤษตรงจากมหาชนก ชาดก ตั้งแต่ต้นเรื่องโดยทรงดัดแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น พระมหาชนกบำเพ็ญวิริยะบารมีไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ จนกระทั่งได้ทรงครองราชสมบัติ และนำความเจริญมั่งคั่งแก่กรุงมิถิลาด้วยพระปรีชาสามารถ มาถึงตอนเรื่องต้นมะม่วงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่า  การที่พระมหาชนก จะเสด็จออกทรงแสวงโมกขธรรมยังไม่ถึงเวลาอันสมควร     เพราะว่าได้ทรงสร้างความเจริญแก่มิถิลายังไม่ครบถ้วน    กล่าวคือข้าราชบริพาร"นับแต่อุปราชจนถึงคนรักษาช้าง   รักษาม้าและนับแต่คนรักษาม้าจนถึงอุปราชและโดยเฉพาะเหล่าอมาตย์   ล้วนจารึกในโมหภูมิทั้งนั้น  ไม่มีความรู้ทั้งวิทยาการ  ทั้งทางปัญญายังไม่เห็นความสำคัญของผลประโยชน์แท้แม้ของตนเอง  จึงต้องตั้งสถานอบรมสั่งสอนให้เบ็ดเสร็จ" อนึ่ง  พระมหาชนกยังต้องทรงปรารภเรื่องการอนุบาลต้นมะม่วงตามวิธีสมัยใหม่  เก้าวิธีอีกด้วย

              ด้วยประการเช่นนี้  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงดัดแปลงเนื้อเรื่องในมหาชนกชาดกให้
เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน  โดยมีพระราชดำริว่าพระมหาชนกจะบรรลุโมกขธรรมได้ง่ายกว่า หากได้
ประกอบพระราชกรณียกิจในโลกให้ครบถ้วนก่อน รูปที่ประกอบเรื่องเป็นฝีมือของศิลปินไทย   ซึ่งได้ทุ่มเททั้งกำลังกายและกำลังความคิดอย่างเต็มที่  เพื่อถ่ายทอดความงามของเรื่องนี้ให้ครบถ้วนสมบูรณ์
"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแปลมหาชนกชาดกเสร็จสมบูรณ์เมื่อ  พ.ศ.  2531 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พิมพ์ในโอกาศเฉลิมฉลองกาญจนภิเษกแห่งรัชกาล ให้เป็นเครื่องพิจารณาเพื่อประโยชน์ในการดำเนินชีวิตของสาธุชนทั้งหลาย" ขอจงทรงมีความเพียรที่บริสุทธิ์ ปัญญาที่เฉียบแหลม  กำลังกายที่สมบูรณ์  พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน 9 มิถุนายน  2539  นายขวัญแก้ว  วัชโรทัย  รองเลขาธิการพระราชวังฝ่ายกิจกรรมพิเศษประธานคณะทำงาน สร้างเหรียญและพระราชนิพนธ์  "พระมหาชนก"  ได้สรุปที่มาของพระราชนิพนธ์เรื่องนี้ว่า  "ระหว่าง 50  ปีที่ทรงครองราชย์ทรงผ่านพ้นอุปสรรคนานาชนิด อุปสรรคนั้นคือวิกฤตการณ์ต่าง  ๆ  เกิดเหตุเภทภัย  ลุกลามถึงประชาชน  โดยที่พระองค์ทรงเปรียบเสมือนพระพรหมของประชาชนทุกคน  เมื่อมีเหตุการณ์ก็พึ่งพระองค์  ขณะที่บ้านเมืองกำลังลุกเป็นไฟ  พระองค์รับสั่งกับผู้ที่ทำให้เกิดเรื่องก็จะสงบทันที  ชึ่งไม่มีที่ไหนในโลกนับว่าทรงเป็นมิ่งขวัญของประชาชน  ชาวไทยยากหาผู้เปรียบปาน
               ในหลวงทรงลำบากมากกกว่าชาวไทยเป็นไหน ๆ    ปัจจุบันไม่เคยมีพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ไหนทรงเหนื่อยมาก ๆ เหมือนพระองค์  ทรงงานจนพระเสโทไหล  ยากที่สามัญจะทำไดั  ทรงเป็นยอดมนุษย์ ยิ่งภาวะปัจจุบันคนไทยต้องมีความเพียรอดทน  ไม่ย่อท้อโดยยึดเอาแบบอย่างจากพระองค์ก็จะประสบความสำเร็จในชีวิต

               สมเด็จพระญานสังวร  สมเด็จพระสังฆราช  สกลมหาสังฆปริณายก  ทรงอ่านแล้วถึงกับตรัสว่า ถ้าใครได้อ่านแล้วมีปรัชญาชีวิต  สิ่งที่ดีงามสอนให้ผู้คนอดทนไม่ท้อแท้ เหมาะสมกับยุคนี้  ทันสมัยทันต่อเหตุการณ์ถ้าอ่านให้ลึกซึ้งจริง ๆ ประชาชนชาวไทยคงไม่มีใครฆ่าตัวตาย

               ทรงแปลเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษควบคู่กันไป  เป็นประโยชน์ทิ้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ทรงถอดประวัติของพระองค์ตลอดระยะเวลา  50  ปีที่ครองราชย์  ทรงประสบอุปสรรค  ความยากลำบาก เหมือนพระมหาชนกเมื่อเรือแตกก็ทรงว่ายน้ำถึง  7  วัน  จนเทวดามาช่วย  ในหลวงก็ทรงประสบวิกฤต แต่ทรงมีความเพียรไม่ท้อแท้  ซึ่งบางคนก็มีความเพียรอยู่แต่ท้อแท้  ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต และเหรียญที่จัดสร้างขึ้นนี้ไม่ใช่เครื่องรางของขลัง  แต่เป็นสิ่งเพิ่มกำลังใจในการต่อสู้กับชีวิต  เป็นประทีปส่องทาง"

               ใครที่ได้อ่านเรื่องพระมหาชนกต่างพูดตรงกันว่า  พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถทางด้านวรรณกรรมยิ่งนักทรงใช้ภาษาที่กระชับ  สละสลวยอ่านง่าย  แสดงให้เห็นชัดแจนว่าพระองค์ท่านทรงได้ศึกษาเรื่องที่จะเขียนและทรงมีความรู้อย่างลึกซึ้ง

               พระมหาชนกฉบับพระราชนิพนธ์นี้  เป็นวรรณคดีพระพุทธศาสนาเรื่องหนึ่งในทศชาติชาดก ซึ่งเป็นชาดก  10  ชาติสุดท้าย  ก่อนที่พระโพธิสัตว์จะมาประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ  และตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ชาดกเรื่องนี้แสดงให้เห็นถึงการบำเพ็ญบารมีของพระมหาชนก วิริยะบารมี" ซึ่งเต็มไปด้วยความเพียรพยายามอย่างยิ่งยวด

               บทแรกขึ้นต้นว่า  ในอดีตกาลอันพ้นคณนาวิสัย  ครั้งหนึ่งพระราชาพระนามว่า  มหาชนก ครองราชสมบัติอยู่ในกรุงมิถิลา  แคว้นวิเทหะ  พระเจ้ามหาชนกนั้น  มีพระราชโอรสสองพระองค์ พระนามว่าอริฏฐชนก  และโปลชนก  พระราชาพระราชทานตำแหน่งอุปราชแก่องค์พี่  และตำแหน่งเสนาบดีแก่องค์น้อง  กาลต่อมาพระมหาชนกเสด็จสวรรคต  พระอริฏฐชนกได้ครองราชสมบัติ และทรงรั้งพระโปลชนกเป็นอุปราช

               วันหนึ่งอมาตย์ผู้ใกล้ชิดกราบทูลใส่ร้ายว่า  พระอุปราชโปลชนกคิดไม่ซื่อ พระอริฏฐชนกหลงเชื่อ  สั่งจองจำพระโปลชนกแต่พระโปลชนกตั้งจิตอธิษฐานและหลบหนีไปได้ ภายหลังได้รวบรวมพลท้ารบและเอาชนะได้ในที่สุด    พระอริฏฐชนกสิ้นพระชนม์ในที่รบ พระเทวีที่กำลังทรงครรภ์จึงปลอมตัวหนีออกนอกเมือง  ด้วยความช่วยเหลือของท้าวสักกเทวราช จึงเสด็จหนีไปจนถึงเมืองกาลจัมปากะ  ได้พราหมณ์  ผู้หนึ่งอุปการะไว้ในฐานะน้องสาว

               ต่อมาทรงมีประสูติกาล  ตั้งพระนามพระโอรสตามพระอัยยิกาว่า  "พระมหาชนก" จบจนกระทั่งพระมหาชนกเติบใหญ่  และได้ทราบความจริงก็คิดจะไปค้าขายแล้วจะไปเอาราชสมบัติคืน จึงนำสมบัติกึ่งหนึ่งของพระมารดาไปขาย  แลกเป็นสินค้าออกเรือไปยังสุวรรณภูมิ

               ระหว่างทางในมหาสมุทรเรือต้องพายุล่มลง  ลูกเรือตายหมดเหลือแต่พระมหาชนก รอดผู้เดียว  ทรงอดทนว่ายน้ำในมหาสมุทรด้วยความเพียร  7  วัน  7  คืน  จนได้พบนางมณีเมขลา และสนทนาธรรมในเรื่องของความเพียรในที่สุดนางมณีเมขลาได้อุ้มพระมหาชนกไปส่งยังมิถิลานคร

               เนื้อเรื่องหลังจากนี้น่าติดตามมาก  ดังที่พระองค์รับสั่งว่า  "ตัวหนังสือบางอย่างหรือคำบางอย่างได้ดัดแปลงให้ตรงกับความคิดสมัยใหม่นี้บ้าง  ที่อาจไม่เป็นประโยชน์แก่คนปัจจุบันก็ได้ละเว้น  และได้ตกแต่งส่วนใหม่ที่เป็นประโยชน์แก่สังคมปัจจุบัน


วิธีสังเกตุเหรียญ
ด้านหน้า
     1.ยอดฉัตรจะดูเอียงเล็กน้อย มาทางด้านซ้ายนิดๆ
     2.ตัวอักษร ภปร และ ข้อความด้านล่าง จะออกเงา สวย
     3.ก้านแว่นจะไม่ตรงโค้งๆ นิดๆ และจะคมชัดตั้งแต่พระเนตรจนถึงพระกันต์
     4.ผิวพื้นเหรียญจะเป็นแบบเม็ดทรายละเอียด
     5.ถ้านับเส้นคันตรงหนังสือจะนับได้ 4







ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://thaigoldcoin.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น