วันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ธนบัตร แบบ 16

       ธนบัตรแบบนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ ที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณูปการแก่ประเทศชาติ ​​

       มี 5 ชนิดราคา คือ 20 บาท 50 บาท 100 บาท 500 บาท และ​ 1000 บาท 




​       ​ภาพประธานด้านหน้​า : พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์
       ภาพประธานด้านหลัง : พระบรมราชานุสาวรีย์ พ่อขุนรามคำแหง ประทับบนพระแท่นมนังศิลาบาตร ภาพการประดิษฐ์อักษรไทย ภาพศิลาจารึกหลักที่ 1 จารึกพ่อขุนรามคำแหง ภาพลายสือไทย ภาพทรงรับเรื่องราวร้องทุกข์ของราษฎร ภาพกระดิ่ง และภาพเครื่องสังคโลก
       ขนาด  : 7.20 x 13.80 เซนติเมตร
       วันประกาศออกใช้  : ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2555
       วันออกใช้  : วันที่ 1 เมษายน 2556





​       ภาพประธานด้านหน้า : พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์
​       ภาพประธานด้านหลัง : พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงหลั่งทักษิโณทก  ภาพจิตรกรรมฝาผนัง  ทรงพระแสงดาบ นำทหารเข้าตีค่ายพม่า พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ อนุสรณ์ดอนเจดีย์  และพระเจดีย์ชัยมงคล วัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
​       ขนาด : 7.20 x 14.40 เซนติเมตร
​       วันประกาศออกใช้ : ลงวันที่ 24 มิถุนายน 2554
​       วันออกใช้ : วันที่ 18 มกราคม 2555​

​​



​       ​​​ภาพประธานด้านหน้า​​ : พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์
​       ภาพประธานด้านหลัง : พระบรมรูป​สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ภาพทรงเกลี้ยกล่อมให้ประชาชนรวมกำลังกันต่อสู่กู้อิสรภาพ ภาพท้องพระโรงพระราชวังกรุงธนบุรี ภาพพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงม้าพระที่นั่งออกศึก และภาพป้อมวิไชยประสิิทธิ์
​​​       ขนาด : 7.20 x 15.00 เซนติเมตร
​       วันประกาศออกใช้ : ​ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2557
​       วันออกใช้​ : วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2558​​





​       ภาพประธานด้านหน้า : ​พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์
​       ภาพประธานด้านหลัง : พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ภาพวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ภาพป้อมพระสุเมรุ
​       ขนาด : 7.20 x 15.60 เซนติเมตร
​       วันประกาศออกใช้ : ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2556
​       วันออกใช้ : วันที่ 12 พฤษภาคม 2557





​       ​​ภาพประธานด้านหน้า : ​​​พระบรมฉายาสาทิศลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์
​       ภาพประธานด้่านหลัง : พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช ภาพพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงม้าพระที่นั่ง ภาพพระที่นั่งอนันตสมาคม และภาพการเลิกทาส
​       ขนาด : 7.20 x 16.20 เซนติเมตร
​       วันประกาศออกใช้ : ลงวันที่ 24 มิถุนายน 2558
​       วันออกใช้ : วันที่ 21 สิงหาคม 2558






ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก

ธนาคารแห่งประเทศไทย


ธนบัตร แบบ 15

       ธนบัตรแบบนี้ยังคงมีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์แห่งพระราชวงศ์จักรีที่ทรงพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ และเป็นแบบที่เริ่มปรับขนาดความกว้างของธนบัตรให้เท่ากันทุกชนิดราคา เพื่อความสะดวกในการพกพา

       มี 5 ชนิดราคา ได้แก่ 20 บาท 50 บาท 100 บาท 500 บาท และ 1000 บาท   



       ภาพประธานด้านหน้า : พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบจอมทัพ 
       ภาพประธานด้านหลัง : พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ภาพพระราชกรณียกิจเมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินที่สำเพ็ง และภาพสะพานพระราม 8
       ขนาด : 7.20 x 13.80 เซนติเมตร
       วันประกาศออกใช้ : ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2546
       วันออกใช้ : วันที่ 3 มีนาคม 2546



       ภาพประธานด้านหน้า : พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบจอมทัพ
       ภาพประธานด้านหลัง : พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ภาพลูกโลกดาว กล้องโทรทรรศน์ และภาพพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม
       ขนาด : 7.20 x 14.40 เซนติเมตร

       รุ่นหนึ่ง : พิมพ์บนวัสดุพอลิเมอร์
       วันประกาศออกใช้ : ลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2540
       จ่ายแลก : วันที่ 18 สิงหาคม 2540

       รุ่นสอง : แบบปรับปรุง  พิมพ์บนกระดาษ
       วันประกาศออกใช้ : ลงวันที่ 19 มีนาคม 2547
       วันออกใช้ : วันที่ 1 ตุลาคม 2547



       ภาพประธานด้านหน้า : พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบจอมทัพ 
       ขนาด : 7.20 x 15.00 เซนติเมตร

       รุ่นหนึ่ง : ลักษณะเหมือนกับธนบัตรแบบ 14 แต่มีแถบฟอยล์สีเงินด้านหน้าธนบัตร
       ภาพประธานด้านหลัง : พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และภาพการศึกษาของไทย
       วันประกาศออกใช้ : ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2547
       วันออกใช้ : วันที่ 25 พฤศจิกายน 2547

       รุ่นสอง : แบบปรับปรุง  เปลี่ยนภาพประธานด้านหลัง
       ภาพประธานด้านหลัง : พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบเต็มยศทหารเรือ และภาพพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการเลิกทาส
       วันประกาศออกใช้ : ลงวันที่ 5 กันยายน 2548
       วันออกใช้ : วันที่ 21 ตุลาคม 2548




       ภาพประธานด้านหน้า : พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบจอมทัพ
       ภาพประธานด้านหลัง : พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ ภาพโลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหาร และภาพเรือสำเภา
       ขนาด : 7.20 x 15.60 เซนติเมตร
       วันประกาศออกใช้ : ลงวันที่ 24 กรกฎาคม 2544
       วันออกใช้ : วันที่ 1 สิงหาคม 2544




       ภาพประธานด้านหน้า : พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบจอมทัพ
       ภาพประธานด้านหลัง : พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภาพเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และภาพเกษตรกรรมตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่
       ขนาด : 7.20 x 16.20 เซนติเมตร


       รุ่นหนึ่ง
       วันประกาศออกใช้ : ลงวันที่ 1 กันยายน 2542
       วันออกใช้ : วันที่ 1 พฤศจิกายน 2542


       รุ่นสอง : แบบปรับปรุง  เพิ่มฟอยล์สีเงินด้านหน้าธนบัตร
       วันประกาศออกใช้ : ลงวันที่ 29 กรกฎาคม 2548
       วันออกใช้ : วันที่ 25 พฤศจิกายน 2548

 



ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก

ธนาคารแห่งประเทศไทย

ธนบัตร แบบ 14

       มีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์แห่งพระราชวงศ์จักรี ที่ทรงพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ

       มี 3 ชนิดราคา ได้แก่ 100 บาท 500 บาท และ 1000 บาท 



       ภาพประธานด้านหน้า : พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบจอมทัพ 
       ภาพประธานด้านหลัง : พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       ขนาด : 7.20 x 15.00 เซนติเมตร
       วันประกาศออกใช้ : ลงวันที่ 29 กันยายน 2537
       วันออกใช้ : วันที่ 20 ตุลาคม 2537




       ภาพประธานด้านหน้า : พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบจอมทัพ 
       ภาพประธานด้านหลัง : พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ณ เชิงเขาแก่นจันทร์ จ.ราชบุรี และพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ณ วัดอัมพวันเจติยาราม  จ.สมุทรสงคราม
       ขนาด : 7.20 x 15.60 เซนติเมตร
       วันประกาศออกใช้ : ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2539
       วันออกใช้ : วันที่ 3 เมษายน 2539




       ภาพประธานด้านหน้า : พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบจอมทัพ 
       ภาพประธานด้านหลัง : พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ขณะเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรที่สร้างฝายและอ่างเก็บน้ำ ณ บ้านบากง อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส
       ขนาด : 8.00 x 16.60 เซนติเมตร
       วันประกาศออกใช้ : ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2535
       วันออกใช้ : วันที่ 10 สิงหาคม 2535






ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก

ธนาคารแห่งประเทศไทย



ธนบัตร แบบ 13

       มีจุดมุ่งหมายเพื่อร่วมเฉลิมฉลองงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี จึงนำภาพเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่สำคัญ ๆ นับแต่แรกสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวง และการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยมาเป็นภาพประธานด้านหลัง

       มี 2 ชนิดราคา ได้แก่ 50 บาท และ 500 บาท  


       ภาพประธานด้านหน้า : พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบจอมทัพ ทรงฉลองพระองค์ครุย
       ภาพประธานด้านหลัง : พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ อาคารรัฐสภา และพระที่นั่งอนันตสมาคม
       ขนาด : 7.20 x 14.40 เซนติเมตร
       วันประกาศออกใช้ : ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2528
       วันออกใช้ : วันที่ 20 กันยายน 2528



       ภาพประธานด้านหน้า : พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบจอมทัพ
       ภาพประธานด้านหลัง : พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ณ เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง
       ขนาด : 8.00 x 16.00 เซนติเมตร
       วันประกาศออกใช้ : ลงวันที่ 16 กันยายน 2530
       วันออกใช้ : วันที่ 5 พฤศจิกายน 2530





ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก

ธนาคารแห่งประเทศไทย


ธนบัตร แบบ 12

       เป็นธนบัตรที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแผ่พระเกียรติคุณของสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าที่ได้รับการถวายพระราชสมัญญาภิไธย "มหาราช" จึงได้เชิญพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระมหากษัตริย์ที่ได้รับการเทิดพระเกียรติดังกล่าว มาเป็นภาพประธานด้านหลังของธนบัตร

       มี 3 ชนิดราคา ได้แก่ 10 บาท 20 บาท และ 100 บาท


       ภาพประธานด้านหน้า : พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบจอมทัพ 
       ภาพประธานด้านหลัง  : พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว ณ ลานพระราชวังดุสิต 
       ขนาด : 6.90 x 13.20 เซนติเมตร
       วันประกาศออกใช้ : ลงวันที่ 5 กันยายน 2523
       วันออกใช้ : วันที่ 20 กันยายน 2523




       ภาพประธานด้านหน้า : พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบจอมทัพ 
       ภาพประธานด้านหลัง : พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ สวนสาธารณะทุ่งนาเชย จ. จันทบุรี 
       ขนาด : 7.20 x 13.80 เซนติเมตร
       วันประกาศออกใช้ : ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2524
       วันออกใช้ : วันที่ 28 ธันวาคม 2524




       ภาพประธานด้านหน้า : พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบจอมทัพ 
       ภาพประธานด้านหลัง : พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช  ณ อนุสรณ์ดอนเจดีย์ จ. สุพรรณบุรี 
       ขนาด : 8.00 x 15.40 เซนติเมตร
       วันประกาศออกใช้ : ลงวันที่ 28 มีนาคม 2521
       วันออกใช้ : วันที่ 6 เมษายน 2521





ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก

ธนาคารแห่งประเทศไทย

ธนบัตร แบบ 11

       เป็นธนบัตรแบบที่มีเอกลักษณ์ความเป็นไทยมากขึ้น ด้วยการนำลายไทย สถาปัตยกรรมไทย ซึ่งมีลักษณะโดดเด่นเป็นศิลปะประจำชาติมาเป็นองค์ประกอบสำคัญของธนบัตร นอกจากนี้ ยังมีลักษณะสำคัญคือ ภาพประกอบด้านหน้ามีความสัมพันธ์กับภาพประธานด้านหลัง ธนบัตรแบบสิบเอ็ด

       มี 5 ชนิดราคา ได้แก่ 5 บาท 10 บาท 20 บาท 100 บาท และ 500 บาท


       ภาพประธานด้านหน้า : พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงฉลองพระองค์ครุย 
       ภาพประธานด้านหลัง : พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง
       ขนาด : 6.75 x 13.00 เซนติเมตร
       วันประกาศออกใช้ : ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2512
       วันออกใช้ : วันที่ 24 มิถุนายน 2512



       ภาพประธานด้านหน้า : พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงฉลองพระองค์ครุย
       ภาพประธานด้านหลัง : พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
       ขนาด : 7.00 x 13.50 เซนติเมตร
       วันประกาศออกใช้ : ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2512
       วันออกใช้ : วันที่ 24 มิถุนายน 2512



       ภาพประธานด้านหน้า : พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงฉลองพระองค์ครุย
       ภาพประธานด้านหลัง : เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช 
       ขนาด : 7.25 x 14.00 เซนติเมตร
       วันประกาศออกใช้ : ลงวันที่ 3 มิถุนายน 2514
       วันออกใช้ : วันที่ 9 มิถุนายน 2514



       ภาพประธานด้านหน้า : พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงฉลองพระองค์ครุย 
       ภาพประธานด้านหลัง : วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง
       ขนาด : 7.75 x 15.00 เซนติเมตร
       วันประกาศออกใช้ : ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2515
       วันออกใช้ : วันที่ 12 ตุลาคม 2515




       ภาพประธานด้านหน้า : พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงฉลองพระองค์ครุย 
       ภาพประธานด้านหลัง : พระปรางค์สามยอด ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี
       ขนาด : 8.25 x 16.00 เซนติเมตร
       วันประกาศออกใช้ : ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2518
       วันออกใช้ : วันที่ 18 กรกฎาคม 2518




ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก

ธนาคารแห่งประเทศไทย




ธนบัตร แบบ 10

       ด้วยเหตุที่ธนบัตรแบบ 9 ชนิดราคา 100 บาท ออกใช้ติดต่อกันนานกว่า 20 ปี และพิมพ์ด้วยการพิมพ์เส้นนูนสีแดงเพียงสีเดียว จึงมีการปลอมแปลงมาก รัฐบาลจึงได้เปลี่ยนแบบธนบัตรชนิดราคา 100 บาทใหม่ โดยด้านหน้าเชิญพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเป็นภาพประธาน ส่วนด้านหลังเป็นภาพเรือสุพรรณหงส์ และกำหนดให้พิมพ์สอดสีหลายสีและพิมพ์เส้นนูนสีน้ำเงินเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งสี ธนบัตรแบบสิบมีเพียงชนิดราคาเดียว พิมพ์ที่บริษัท โทมัส เดอ ลา รู จำกัด เริ่มออกใช้เมื่อพุทธศักราช 2511





ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก

ธนาคารแห่งประเทศไทย

ธนบัตร แบบ 9

       มีรูปแบบเหมือนกับธนบัตรแบบ 9  แต่เปลี่ยนพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์เป็น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มี 6 ชนิดราคา  ได้แก่ 50 สตางค์ 1 บาท  5 บาท 10 บาท  20 บาท  และ 100 บาท พิมพ์ที่บริษัท โทมัส เดอ ลา รู จำกัด  เริ่มทยอยออกใช้เมื่อพุทธศักราช 2491

       ด้วยเหตุที่ธนบัตรแบบเก้า มีระยะเวลาการนำออกใช้นานกว่า 20 ปี ประชาชนจึงคุ้นเคยกับสีของธนบัตรแต่ละชนิดราคาจนยากที่จะเปลี่ยนแปลงได้ จึงอาจกล่าวได้ว่า สีของธนบัตรแบบเก้า เป็นต้นแบบของการกำหนดสีของธนบัตรในปัจจุบัน

 




ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก

ธนาคารแห่งประเทศไทย

ธนบัตร แบบ 8

       เมื่อสงครามมหาเอเชียบูรพายุติลงในเดือนสิงหาคม 2488 รัฐบาลไทยได้สั่งพิมพ์ธนบัตรไปยังบริษัท โทมัส เดอ ลา รู จำกัด  อีกครั้ง แต่โรงพิมพ์ของบริษัทได้รับความเสียหายจากสงคราม ไม่สามารถพิมพ์ให้ได้ รัฐบาลไทยจึงติดต่อให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาจัดพิมพ์ธนบัตรให้ชั่วคราว  โดยโรงพิมพ์ธนบัตร กระทรวงการคลัง (Bureau of  Engraving and Printing, Treasury Department) ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ทำแม่แบบแม่พิมพ์ธนบัตร และว่าจ้างให้บริษัท ทิวดอร์ เพรส จำกัด (Tudor Press Inc.) เป็นผู้พิมพ์

       ด้านหน้าเชิญพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเมื่อทรงพระเยาว์เป็นภาพประธาน  และภาพพระปฐมเจดีย์เป็นภาพประกอบของแต่ละชนิดราคา ส่วนด้านหลังเป็นภาพรัฐธรรมนูญประดิษฐานเหนือพานแว่นฟ้า มี 5 ชนิดราคา ได้แก่ 1 บาท 5 บาท 10 บาท 20 บาท และ 100 บาท เริ่มออกใช้เมื่อพุทธศักราช 2489 ในรัชกาลที่ 9 เนื่องจากธนบัตรแบบแปดสั่งพิมพ์ในรัชกาลที่ 8 แต่ส่งเข้ามาถึงประเทศไทย เมื่อเดือนตุลาคม 2489 ซึ่งขณะนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว





ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก

ธนาคารแห่งประเทศไทย



ธนบัตร แบบ 7

       พิมพ์ที่โรงพิมพ์เอกชนหลายแห่งที่มีผลงานอยู่ในระดับมาตรฐานขณะนั้น โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปควบคุมดูแลการพิมพ์อย่างใกล้ชิด แต่เนื่องจากเป็นช่วงปลายสงครามซึ่งกระดาษและหมึกพิมพ์มีอยู่อย่างจำกัด คุณภาพและสีของธนบัตรจึงไม่ดีเท่าที่ควร มี 4 ชนิดราคา ได้แก่ 1 บาท  5 บาท  10 บาท  และ 50 บาท  เริ่มออกใช้เมื่อพุทธศักราช 2488

 






ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก

ธนาคารแห่งประเทศไทย

ธนบัตร แบบ 6

       พิมพ์ที่ กรมแผนที่ทหารบกและกรมอุทกศาสตร์ มี 2 ชนิดราคา ได้แก่ 20 บาท และ 100 บาท ใช้กระดาษที่ผลิตจากโรงงานกระดาษไทย จังหวัดกาญจนบุรี เริ่มออกใช้เมื่อพุทธศักราช 2488

       ชนิดราคา 20 บาท มีรูปแบบเหมือนกับธนบัตรแบบ 4 ซึ่งพิมพ์จากบริษัท โทมัส เดอ ลา รู จำกัด 
       ชนิดราคา 100 บาท มีรูปแบบเหมือนกับธนบัตรแบบ 4 ซึ่งพิมพ์จากกรมแผนที่ทหารบก






ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก

ธนาคารแห่งประเทศไทย

ธนบัตร แบบ 5

     ด้านหน้าเชิญพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเมื่อทรงพระเยาว์เป็นภาพประธาน โดยมีลายเฟื่อง อุโบสถและวิหารวัดภูมินทร์ พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ประตูซุ้มยอดมงกุฎวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม และพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทกับพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เป็นภาพประกอบของแต่ละชนิดราคา ส่วนด้านหลังเป็นภาพพระบรมมหาราชวัง ด้านวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

     มี 7 ชนิดราคาได้แก่ 50 สตางค์  1 บาท  5 บาท  10 บาท  20 บาท  100 บาท  และ 1000 บาท พิมพ์ที่โรงพิมพ์ธนบัตร กระทรวงการคลัง ประเทศญี่ปุ่น เริ่มทยอยออกใช้เมื่อพุทธศักราช 2485





ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก

ธนาคารแห่งประเทศไทย




รวมนานาสาระต่างๆ เกี่ยวกับการสะสมเหรียญ ธนบัตร หรือของสะสมอื่นๆ


       การจัดเกรดธนบัตร

       การสะสมธนบัตรควรเริ่มต้นอย่างไร

       เหรียญกษาปณ์ สุดยอดหายาก10 อันดับรัชกาลที่ 9

       เหรียญคาสิโนเมืองไทย สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

       ธนบัตรเลขสวย แบบไหนถึงเรียกว่าสวยและมีอนาคต

       10 วิธีเก็บรักษาเหรียญและธนบัตร ให้ทรงคุณค่าตราบนานเท่านาน

       9 เรื่องเล่า 9 เหรียญกษาปณ์ : รัชกาลที่ 9

       เหรียญชนิด 1 บาท รัชกาลที่ 5 ร.ศ. 127 ของแท้และเทียม

       ความแตกต่างระหว่างเหรียญ 5 บาท ปี 2540 กับ ปี 2550

       เหรียญกษาปณ์ ชนิด 1 บาท พ.ศ. 2520 ภู่สั้น - ภู่ยาว

       เหรียญบาท ร.6 ช้างสามเศียร

       เหรียญที่ระลึก UNDP

       10 อันดับ เหรียญกษาปณ์หายาก รัชกาลที่ 9 (อัพเดทล่าสุด)

       พระพุทธนวราชบพิตร พระพิมพ์จิตรลดา โครงการหลวง ปี 2539

       เหรียญพระมหาชนกชุดทองคำเล็ก (ทองคำ นาค เงิน) 
       
       เหรียญเสมา ที่ระลึกในหลวง 5 รอบ ปี 2530 พิธีใหญ่ เนื้อเงิน ทรงระฆังคว่ำ

       เหรียญเสมา ที่ระลึก 6 รอบ รัชกาลที่ 9 ปี 2542 ครบชุด สร้างโดยกระทรวงมหาดไทย

       เหรียญพระชัยหลังช้าง สก. ปี 2535 เนื้อทองคำ 

       เหรียญที่ระลึกครบ 50 ปี ราชาภิเษกสมรส ครบชุด เนื้อทองคำ เงิน และทองแดง ปี2543

       เหรียญที่ระลึก อนุสรณ์การพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จย่า 

       เหรียญทรงผนวช โมเน่ ปี 2551 ชุดเนื้อทองคำ เงิน ทองแดง เนื้อทองคำบริสุทธิ์ 99.99%

       เหรียญที่ระลึกสมโภชช้างเผือก ภปร.จ.นราธิวาส ปี 2520 เนื้อเงิน

       เหรียญคุ้มเกล้า เนื้อทองคำ พิมพ์ใหญ่ ปี 2522 พิธีใหญ่ "หลวงปู่แหวน" ร่วมปลุกเสก

       เหรียญอนุสรณ์มหาราช พิมพ์เสมา 3 รอบในหลวง เนื้อทองคำ ปี 2506

       เหรียญที่ระลึก 6 รอบ ในหลวง มูลนิธิวชิรเวชวิทยาลัย พ.ศ.2542  หลังฮาโลแกรม 3 มิติ

       เหรียญที่ระลึก 3 พระองค์ 89 พรรษาสมเด็จย่า ปี2532 เนื้อทองคำ สองสลึง ทรงกลม

       เหรียญพระมหาชนกชุดทองคำใหญ่ (ทองคำ นาค เงิน) พร้อมหนังสือครบชุด

       เหรียญสมเด็จพระสุริโยทัย หลังพระนามาภิไธย สก เนื้อทองคำ สร้างปี พ.ศ. 2538

       พระกริ่งไพรีพินาศ นวปทุม ภปร. เนื้อนวะโลหะ ปี 2535 
       
       เหรียญที่ระลึกมหามงคลเฉลิมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542

       พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ปวเรศ รุ่น 2 ปี2530 ยอดนิยม วัดบวรนิเวศวิหาร เนื้อกลับดำ

       เหรียญในหลวงนั่งบังลังค์ เนื้อทองคำขัดเงา ปี 2539 กระทรวงมหาดไทย








10 อันดับ เหรียญกษาปณ์หายาก รัชกาลที่ 9 (อัพเดทล่าสุด)




          อันดับที่ 10 เหรียญ25 สตางค์ ปี 2500 แบบพิมพ์เล็ก หาสภาพสวยได้ยากมากๆ เชื่อกันว่ามีหมุนเวียนไม่เกิน 50 เหรียญในวงการ

          อันดับที่ 9 เหรียญบาทปี 2505 ตัวอย่าง พบน้อยมากเชื่อว่ามีหมุนเวียนไม่เกิน 30 เหรียญในวงการ

          อันดับที่ 8 เหรียญ10 บาท ปี2533 รุ่นนี้ผลิตออกมา 100 เหรียญ แต่จ่ายออกไปราว 40 เหรียญ ในปัจจุบันมีพบว่าเหลือหมุนเวียนในวงการไม่เกิน 7 เหรียญ

          อันดับที่ 7 เหรียญบาทปี 2493 ผลิตออกมาเป็นตัวอย่างเท่านั้น พบว่ามีหมุนเวียนในวงการ 3-4 เหรียญ แต่อย่างมากไม่เกิน 5 เหรียญ

          อันดับที่ 6 เหรียญ 5บาทตัวอย่าง ผลิตในปี2515 แบบพระเศียรเล็ก พบว่ามีออกมาหมุนเวียน 3-5 เหรียญ แต่อาจมีจริงๆน้อยกว่านั้นก็ได้

          อันดับที่ 5 เหรียญ5 บาทปี2515 ตัวอย่าง พระเศียรใหญ่ เชื่อว่ามีหมุนเวียน 3-4 เหรียญ แต่เชื่อว่ามีไม่เกิน 4 เหรียญ

          อันดับที่ 4 เหรียญ5. ปี 2515(พิมพ์เล็ก) เป็นเหรียญตัวอย่าง ปัจจุบันพบ 2 เหรียญ

          อันดับที่ 3 เหรียญ5 ปี 2525(เศียรเล็ก) มีรูปให้เห็นเพียงเหรียญเดียว แต่ในวงการเชื่อว่ามี 2-3 เหรียญ

          อันดับที่ 2 เหรียญ5 บาทปี2524 อาจมีเพียง2-3 เหรียญในปัจจุบัน

          อันดับที่ 1 เหรียญ5 บาทปี 2529 พบว่ามีเห็นอย่างน้อย1 เหรียญ




ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก
siamcoin.com




ตะลึงเหรียญ 1 บาท รัชกาลที่ 9 เพียงเหรียญเดียวราคาเกือบครึ่งล้าน ปี 2493




          นักสะสมเหรียญหายากถึงกับอึ้ง เมื่อเพจ siamcoin.com เผยเหรียญ 1 บาท รัชกาลที่ 9 ที่ผลิตเมื่อปี 2493 มีราคาประมูลสูงถึง 430,000 บาท
          วันที่ 21 ตุลาคม 2559 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โลกออนไลน์ได้มีการแชร์ภาพและคลิปที่ถูกนำมาเผยแพร่โดยเพจ siamcoin.com ที่ระบุถึงผลการประมูลในงานของเอื้อเสรี วันที่ 12 สิงหาคม 2559 โดยเฉพาะเรื่องของเหรียญหนึ่งบาท ในรัชสมัยรัชกาลที่ 9 ซึ่งผลิตเมื่อปี 2493 ที่สามารถจบราคาประมูลสูงสุดที่ 430,000 บาท (ไม่รวมภาษี)
          ว่าแต่ เหรียญหนึ่งบาทที่มีมูลค่าสูงเกือบครึ่งล้าน จะมีหน้าตาเป็นอย่างไรนั้น ลองไปดูกันเลย









ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก
https://hilight.kapook.com/view/143867




"จาตุรงคมงคล" เหรียญทรงผนวช 2499 เหรียญหายาก ร.9 ที่ควรเก็บรักษา




          เปิดเหรียญมงคล "จาตุรงคมงคล" หรือ เหรียญทรงผนวช 2499 (สร้างปี พ.ศ. 2508) เหรียญที่ระลึกรัชกาลที่ 9 เนื้อสัมฤทธิ์ ตกแต่งด้วยความประณีต

          วันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 รายการทุบโต๊ะข่าว ทางช่อง AMARIN TV รายงานว่า เหรียญมงคลที่ควรค่าแก่การเก็บสะสม เหรียญ "จาตุรงคมงคล" หรือ เหรียญทรงผนวช 2499 (สร้างปี พ.ศ. 2508) อีกหนึ่งเหรียญนี้ได้รับความนิยมมานานกว่า 20 ปี สร้างขึ้นในวาระพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลพระชนมายุเสมอสมเด็จพระราชบิดา และการพระราชพิธีฉลองสมโภชเจดีย์ หล่อพระพุทธรูปปางประทานพร ภปร. วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปี พ.ศ. 2508

          ทั้งนี้ พระพุทธรูปปางประทานพร ภปร. ของวัดบวรนิเวศวิหาร มี 3 ขนาด คือ ขนาดหน้าตักกว้าง 9 นิ้ว และ 5 นิ้ว รมดำ กับขนาดเล็กเป็นพระกริ่ง เนื้อสัมฤทธิ์ทุกขนาด ซึ่งในการหล่อสร้างพระพุทธรูป ภปร. ครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จฯ ไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ถึง 4 ครั้ง คือ วันที่ 27 สิงหาคม เวลา 16.20 น. เสด็จฯ ไปทรงร่วมในพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถ วันที่ 28 สิงหาคม และวันที่ 29 สิงหาคม เสด็จฯ ในพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลพระชนมายุเสมอ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และการพระราชพิธีฉลองสมโภชพระเจดีย์ หล่อพระพุทธรูปปางประทานพร มีพระปรมาภิไธย ภปร. ทางวัดบวรนิเวศจึงสมมุติเรียกตามถึงพระชนม์แห่งศุภนิมิตในการหล่อสร้างพระพุทธรูปปางประทานพร ภปร. นี้ว่า "จาตุรงคมงคล"







ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก
https://hilight.kapook.com/view/144337